เรื่องการต่อสู้ของประเทศไทยกับปัญหา Covid19
เรื่องการต่อสู้ของประเทศไทยกับปัญหา Covid19
แม้จะผ่านเข้าเดือนที่สี่นับตั้งแต่ธันวาคม ปี 2562 ที่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19 แต่สถานการณ์การระบาด ยังอยู่ในความสนใจของประชาชนไทยและทั่วโลกเป็นอย่างยิ่ง ความคืบหน้าของการระบาด ผู้เกี่ยวข้องต่างก็ออกมาให้ข้อมูลเป็นระยะ เพื่อการป้องกันโรค ขณะเดียวกันก็หวังว่าประชาชนในประเทศจะไม่ตระหนกกับปัญหาดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปัจจุบัน ที่องค์การอนามัยโลกออกมาให้ข้อมูล ให้แต่ละประเทศเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และเน้นย้ำว่าปัญหามีความรุนแรงแต่ต้องไม่ตระหนก วันนี้อธิบกรมสุขภาพจิต นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ในฐานะผู้รับผิดชอบด้านสุขภาพจิตของประเทศ มีข้อมูลมาเพื่อเรียนให้ประชาชนคนไทยทุกคนดังต่อไปนี้
อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมีเดีย ความว่า
“ประชาชนไทยต้องคิดว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก ต้องอาศัยความร่วมมือของคนไทยทุกคน กระทรวงสาธารณสุข มีแผนในการรับมือกับ Covid19 ในรูปแบบของการควบคุมโรค เพื่อให้เข้าระยะ 3 อย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสามารถรับมือกับการเจ็บป่วยของฝ่ายโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การที่จะจัดการของประเทศเพื่อให้เข้าสู่ระยะที่ 3 ตามแผน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ทุกอาชีพ
กรมสุขภาพจิต อยากให้คนไทยทุกคนต่อสู้ด้วย สติ คือรับมือ โรคนี้ แบบ ตระหนัก ไม่ตระหนก โรคติดต่อไวรัสนี้สามารถป้องกันได้ ตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคได้
เมื่อเจ็บป่วย ก็มีวิธีการดูแลรักษาได้ แต่ก็เหมือนกับโรคทุกชนิด มีทั้งรุนแรง ไม่รุนแรง รายที่รุนแรง ก็อาจเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่ ประมาณ 80% อาการไม่รุนแรง อัตราตายประมาณ 1-2 % ภูมิต้านทานในร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรงจะจัดการกับไวรัสได้ดีทึ่สุดไทย
ขอเสนอ 2 คำ คือ Social responsiveness กับ Social cohesion
1. Social responsiveness คือสำนึกต่อสังคม
ทุกคนดูแลสุขภาพตนเองให้ดี กินของร้อน ใช้ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สามารถแนะนำให้ความรู้กับคนที่ยังไม่รู้ หรือให้ความช่วยเหลือแนะนำต่างๆ
ให้ฟังข้อมูลข่าวสารจากทางกระทรวงสาธารณสุข หรือแหล่งที่เชื่อถือได้
ถ้าเจ็บป่วยโรคทางเดินหายใจ ให้ใส่หน้ากากอนามัย
ไม่ปกปิดข้อมูล ต้องแจ้งทางการหรือปฏิบัติตามข้อแนะนำเมื่อมีความเสี่ยงต่างๆ
ไม่เผยแพร่ หรือสร้างข่าวลวงที่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง
ไม่ไปในที่มีคนแออัด
ถ้าเจ็บป่วยต้องไม่แพร่เชื้อโรค รีบไปพบแพทย์
2. Social cohesion สังคมสมานฉันท์
คือสังคมต้องใส่ใจ ร่วมต่อสู้กับ covid19 ร่วมกัน ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลกัน ช่วยเหลือกัน ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพราะเราป้องกันตัวเองได้ สังคมต้องร่วมมือ ปฏิบัติตามคำแนะนำของภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ในการควบคุม ป้องกันโรค
อยากให้เชื่อมั่นในระบบของประเทศ ที่เราสามารถควบคุมป้องกันโรคที่ผ่านมาด้วยดี จำนวนผู้ป่วยควบคุมได้ดี แต่ถ้าคนไทยไม่ร่วมมือกันก็จะทำให้เกิดระยะที่ 3 อย่างควบคุมไม่ได้ ประเทศไทยก็จะสูญเสียอย่างมาก
พวกเราหวังที่จะได้รับความร่วมมือจากคนไทยทุกคน แผนที่เราวางไว้จะสำเร็จได้ตามแผน วิกฤติประเทศไทยก็จะไม่รุนแรง และจบอย่างนุ่มนวล เราก็จะก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันอีกครั้งนะครับ"
กล่าวโดยสรุป
ทั้งหมดคือความห่วงใย และข้อมูลจากอธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิิต เพื่อนำมาบอกกล่าวให้กับประชาชนทั่วไปที่ติดตามข่าวสารสถานการณ์ของประเทศไทย นั่นคือ สถานการณ์โรคระบาด Covid19 ในขณะนี้นันเป็นเรื่องใหญ่มาก จำเป็นที่คนไทยทุกคนต้องมีอย่างน้อยสองอย่างคือ คือสำนึกต่อสังคม และ ร่วมกันสร้างสังคมสมานฉันท์ ใส่ใจต่อสู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความตระหนักในโรคระบาดในขณะนี้ และไม่ตระหนกจนอาจเกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมา และในที่สุดประเทศไทยก็จะก้าวผ่านปัญหานี้ไปได้ในที่สุด เหมือนในอดีตที่ผ่านมาค่ะ
แหล่งข้อมูล
คัดมาจากเพจ Kiattibhoom Vongrachit 2 มีนาคม 2563
2 March 2563
By nitayaporn.m
Views, 1837