02 149 5555 ถึง 60

 

โค‌วิด‌ ‌19‌ ‌สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌ ‌B.1.1.7‌ ‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ที่‌ทุก‌คน‌ต้อง‌ตั้ง‌การ์ด‌รับมือ‌อย่าง‌เข้ม‌งวด‌ ‌

โค‌วิด‌ ‌19‌ ‌สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌ ‌B.1.1.7‌ ‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ที่‌ทุก‌คน‌ต้อง‌ตั้ง‌การ์ด‌รับมือ‌อย่าง‌เข้ม‌งวด‌ ‌

เรื่อง‌โดย‌ ‌ศ‌.‌นพ‌.‌ยง‌ ‌ภูว‌ร‌วรรณ‌ ‌หัวหน้า‌ศูนย์‌เชี่ยวชาญ‌เฉพาะ‌ทาง‌ ‌ด้าน‌ไวรัส‌วิทยา‌

คลินิก‌ ‌ ‌โรง‌พยาบาล‌จุฬาลงกรณ์‌ ‌สภากาชาดไทย‌ ‌

เมื่อ‌เดือน‌เมษายน‌ที่‌ผ่าน‌มา‌จาก‌ผู้คน‌คาด‌หวัง‌จะ‌ได้‌เดิน‌ทาง‌ท่อง‌เที่ยว‌ใน‌ช่วง‌

เทศกาล‌สงกรานต์‌ ‌แต่‌กลับ‌พบ‌สถานการณ์‌การ‌ ‌

แพร่‌ระบาด‌โรค‌โค‌วิด‌-19‌ ‌ที่‌กระจาย‌เป็น‌วง‌กว้าง‌อย่าง‌รวดเร็ว‌ใน‌เพียง‌ไม่‌กี่‌สัปดาห์‌ ‌

ภาย‌หลัง‌จึง‌มี‌การ‌ตรวจ‌สอบ‌และ‌พบ‌ว่า‌เป็น‌ ‌

การ‌แพร่‌ของ‌โรค‌โค‌วิด‌-19‌ ‌สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌ ‌สาย‌พันธุ์‌นี้‌เริ่ม‌ต้น‌ที‌เมือง‌เคน‌ท์‌(Kent)‌ ‌

ตั้งแต่‌เดือน‌กันยายน‌ ‌พ‌.‌ศ‌.‌ ‌2563‌ ‌ ‌

และ‌ระบาด‌อย่าง‌มาก‌ใน‌อังกฤษ‌ใน‌เดือน‌ธันวาคม‌ ‌และ‌แพร่‌กระจาย‌ไป‌ยัง‌ยุโรป‌ ‌

อเมริกา‌ ‌และ‌ประเทศ‌ต่างๆ‌ทั่ว‌โลก‌ ‌ซึ่ง‌ใน‌ทาง‌ ‌

การ‌แพทย์‌เรียก‌ว่า‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌สาย‌พันธุ์‌นี้‌มี‌ที่มา‌และ‌ความ‌แตก‌ต่าง‌อย่างไร‌ ‌ศ‌.‌

นพ‌.‌ยง‌ ‌ภู่‌วร‌วรรณ‌ ‌หัวหน้า‌ศูนย์‌เชี่ยวชาญ‌ ‌

เฉพาะ‌ทาง‌ด้าน‌ไวรัส‌วิทยา‌คลินิก‌ ‌โรง‌พยาบาล‌จุฬาลงกรณ์‌ ‌สภากาชาดไทย‌ ‌

อธิบาย‌ข้อมูล‌เกี่ยว‌กับ‌เชื้อ‌โคโรนา‌ไวรัส‌ ‌2019‌ ‌ ‌

สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌ได้‌อย่าง‌น่า‌สนใจ‌ดัง‌ต่อ‌ไป‌นี้‌ ‌

ไวรัส‌สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌ ‌ที่มา‌และ‌การ‌ค้น‌พบ‌ใน‌ประเทศไทย‌ ‌ ‌

‌เชื้อ‌โคโรนา‌ไวรัส‌ ‌2019‌ ‌ที่‌แพร่‌ระบาด‌อยู่‌ใน‌ทวีป‌ต่างๆ‌ ‌ทั่ว‌โลก‌ล้วน‌มี‌สาย‌พันธุ์‌ที่‌

แตก‌ต่าง‌หลาก‌หลาย‌ตาม‌การ‌เปลี่ยนแปลง‌ ‌

พันธุกรรม‌ซึ่ง‌ทำให้‌สาย‌พันธุ์‌แต่ละ‌ชนิด‌มี‌ความ‌รุนแรง‌หรือ‌ความ‌รวดเร็ว‌ใน‌การ‌แพร่‌

ระบาด‌ที่‌แตก‌ต่าง‌กัน‌ไป‌ ‌ไวรัส‌สาย‌พันธุ์‌ ‌

อังกฤษ‌หรือ‌ ‌B.1.1.7‌ ‌มี‌การ‌พบ‌ครั้ง‌แรก‌ใน‌ประเทศ‌อังกฤษ‌ ‌โดย‌เป็น‌สาย‌พันธุ์‌ที่‌พบ‌ว่า‌

ส่วน‌ที่‌เป็น‌หลาม‌แหลม‌ยื่น‌ออก‌มา‌ ‌

เรียก‌ว่า‌ ‌Spike‌ ‌มี‌การ‌เปลี่ยนแปลง‌ ‌ทำให้‌ไวรัส‌มี‌ความ‌สาม‌รถ‌ใน‌การ‌จับ‌กับ‌เซลล์‌

มนุษย์‌ได้‌ดี‌ขึ้น‌และ‌ส่ง‌ผล‌ต่อ‌การ‌ติด‌เชื้อ‌ที่‌ ‌

สามารถ‌ติด‌ได้‌ง่าย‌ขึ้น‌อีก‌ด้วย‌ ‌ ‌

‌เมื่อ‌ช่วง‌เดือน‌มกราคม‌ ‌พ‌.‌ศ‌.‌ ‌2564‌ ‌ที่‌ผ่าน‌มา‌ ‌ศูนย์‌เชี่ยวชาญ‌เฉพาะ‌ทาง‌ด้าน‌ไวรัส‌

วิทยา‌คลินิก‌พบ‌ไวรัส‌ที่‌มี‌รหัส‌พันธุกรรม‌ ‌

สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌เป็น‌ครั้ง‌แรก‌ใน‌ประเทศไทย‌จาก‌เชื้อ‌ไวรัส‌ของ‌ผู้‌ป่วย‌ที่‌เดิน‌ทาง‌มา‌

จา‌กมื‌อง‌เคน‌ท์‌ ‌ประเทศ‌อังกฤษ‌ ‌ ‌

จำนวน‌ ‌4‌ ‌ราย‌ ‌ใน‌คราว‌นั้น‌แม้‌จะ‌เป็นการ‌ตรวจ‌พบ‌สาย‌พันธุ์‌ใหม่‌ใน‌ประเทศไทย‌ที่‌ยัง‌

ทำให้‌คน‌ไทย‌คลาย‌ความ‌กังวล‌ได้‌ ‌ ‌

เนื่องจาก‌ผู้‌ป่วย‌ทุก‌ราย‌อยู่‌ใน‌สถาน‌ที่‌กักตัว‌ทาง‌เลือก‌ ‌(Alternative‌ ‌State‌ ‌

Quarantine)‌ ‌แต่‌นับ‌เป็น‌ก้าว‌สำคัญ‌ที่‌ทำให้‌คน‌ไทย‌ ‌

ตื่น‌ตัว‌และ‌รู้จัก‌เชื้อ‌โคโรนา‌ไวรัส‌ ‌2019‌ ‌สาย‌พันธุ์‌อังกฤษ‌นี้‌เพิ่ม‌ขึ้น‌ ‌

สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌การ‌เดิน‌ทาง‌จาก‌กัมพูชา‌มา‌สู่‌ไทย‌ ‌

‌การ‌แพร่‌ระบาด‌โรค‌โค‌วิด‌-19‌ ‌ใน‌ช่วง‌เดือน‌เมษายน‌ที่‌ผ่าน‌มา‌ ‌สร้าง‌ความ‌ตระหนก‌

ให้‌กับ‌คน‌ไทย‌ ‌เนื่องจาก‌จำนวน‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌ ‌

เพิ่ม‌สูง‌ขึ้น‌อย่าง‌ก้าว‌กระโดด‌เพียง‌ไม่‌กี่‌วัน‌ใน‌เวลา‌ต่อ‌มา‌ศูนย์‌เชี่ยวชาญ‌เฉพาะ‌ทาง‌

ด้าน‌ไวรัส‌วิทยา‌คลินิก‌ ‌เปิด‌เผย‌ว่า‌มี‌การ‌ตรวจ‌ ‌

พันธุกรรม‌ของ‌ไวรัส‌และ‌ยืนยัน‌ว่า‌สาย‌พันธุ์‌ที่‌แพร่‌ระบาด‌จาก‌สถาน‌บันเทิง‌ใน‌ย่าน‌

ทองหล่อ‌เป็น‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌และ‌มี‌ ‌

ระบาด‌จำนวน‌มาก‌ ‌นำ‌มา‌สู่ขอ‌สงสัย‌ของ‌ผู้คน‌ว่า‌ต้นตอ‌ของ‌เชื้อ‌มา‌จาก‌ที่‌ใด‌ ‌ ‌

‌ศ‌.‌นพ‌.‌ยง‌ ‌ตั้ง‌ข้อ‌สังเกต‌ถึง‌เส้น‌ทาง‌ของ‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌ว่า‌อาจ‌มา‌จาก‌ประเทศ‌

กัมพูชา‌ ‌เนื่องจาก‌ประการ‌แรก‌มี‌รายงาน‌การ‌ ‌

แพร่‌ระบาด‌ของ‌ไวรัส‌สาย‌พันธุ์‌นี้‌ใน‌ประเทศ‌กัมพูชา‌ตั้งแต่‌วัน‌เสาร์‌ที่‌ ‌20‌ ‌กุมภา‌พันธุ์‌ ‌

พ‌.‌ศ‌.‌ ‌2564‌ ‌ส่ง‌ผล‌ให้‌มี‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌ใน‌ ‌

ประเทศ‌กัมพูชา‌เพิ่ม‌สูง‌ขึ้น‌อย่าง‌ต่อ‌เนื่อง‌ ‌อีก‌ประการ‌ที่‌สำคัญ‌คือ‌ ‌จาก‌การ‌ถอดรหัส‌

พันธุกรรม‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌ใน‌ประเทศ‌ ‌

ไทย‌โดย‌ศูนย์‌เชี่ยวชาญ‌เฉพาะ‌ทาง‌ด้าน‌ไวรัส‌วิทยา‌คลินิก‌ยัง‌พบ‌ว่า‌ ‌มี‌ความ‌เหมือน‌

กับ‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌ที่‌พบ‌ใน‌ประเทศ‌ ‌

กัมพูชา‌มากกว่า‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌ที่‌พบ‌ก่อน‌หน้า‌ใน‌ผู้‌ป่วย‌ที่‌เดิน‌ทาง‌กลับ‌มา‌จาก‌

ประเทศ‌อังกฤษ‌ ‌ได้‌เฉพาะ‌ส่วน‌ ‌Spike‌ ‌Gene‌ ‌ ‌

เหมือน‌กัน‌ ‌100%‌ ‌ซึ่ง‌ข้อ‌สนับสนุน‌ทั้ง‌ ‌2‌ ‌ประเด็น‌นี้‌จึง‌ทำให้‌เห็น‌จุด‌เริ่ม‌ต้น‌ของ‌การ‌

แพร่‌ระบาด‌ใน‌ครั้ง‌นี้‌ได้‌อย่าง‌ชัดเจน‌มาก‌ ‌

ยิ่ง‌ขึ้น‌ ‌

สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌ความ‌รวดเร็ว‌ใน‌การ‌ระบาด‌และ‌อาการ‌ใหม่‌ที่‌พบ‌เพิ่ม‌เติม‌ ‌

‌สิ่ง‌ที่‌ต้อง‌เฝ้า‌ระวัง‌เป็น‌พิเศษ‌ใน‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ครั้ง‌นี้‌คือ‌การ‌แพร่‌ระบาด‌เพราะ‌เป็น‌

สาย‌พันธุ์‌ที่‌แพร่‌กระจาย‌ได้‌เร็ว‌มากกว่า‌ ‌

สาย‌พันธุ์‌ธรรมดา‌ถึง‌ ‌1.7‌ ‌เท่า‌ ‌จึง‌ทำให้‌จำนวน‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌ใน‌เมษายน‌ ‌พ‌.‌ศ‌.‌ ‌2564‌ ‌เพิ่ม‌

จำนวน‌สูง‌ขึ้น‌อย่าง‌ต่อ‌เนื่อง‌ ‌นอกจาก‌นี้‌ยัง‌ ‌

พบ‌ด้วย‌ว่า‌มี‌ผู้‌ป่วย‌บาง‌ราย‌ที่‌ไม่‌แสดง‌อาการ‌ ‌ซึ่ง‌อาการ‌ทาง‌คลินิก‌ของ‌โรค‌โค‌วิด‌-19‌ ‌

ที่‌พบ‌ได้‌มี‌ดังนี้‌ ‌

-‌ไข้‌สูง‌ ‌37.5‌ ‌องศา‌เซลเซียส‌ ‌ ‌

-‌อาการ‌ใน‌ระบบ‌ทาง‌เดิน‌หายใจ‌ ‌เช่น‌ ‌เจ็บ‌คอ‌ ‌หวัด‌ ‌ไอ‌ ‌ ‌

-‌จมูก‌ไม่‌ได้‌กลิ่น‌ ‌

-‌ลิ้น‌ไม่‌รับ‌รส‌ ‌

-‌ท้อง‌เสีย‌ ‌คลื่นไส้‌ ‌ ‌

-‌อ่อนเพลีย‌ ‌ปวด‌กล้าม‌เนื้อ‌ ‌

ประชาชน‌ป้องกัน‌อย่าง‌เข้ม‌งวด‌ ‌หน่วย‌งาน‌พร้อม‌สนับสนุน‌เพื่อ‌ลด‌ความ‌เสี่ยง‌ ‌

‌ด้วย‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ที่‌กระจาย‌เป็น‌วง‌กว้าง‌ใน‌เวลา‌อัน‌รวดเร็ว‌ ‌แนวทาง‌ใน‌การ‌ลด‌

ความ‌เสี่ยง‌ใน‌การ‌ติด‌เชื้อ‌ไวรัส‌โคโรนา‌ ‌ ‌

2019‌ ‌สาย‌พันธุ์‌ ‌B.1.1.7‌ ‌คือ‌ความ‌ร่วม‌มือ‌จาก‌ทุก‌คน‌ที่‌ยัง‌ต้อง‌เข้ม‌งวด‌กับ‌มาตรการ‌

โดย‌เฉพาะ‌อย่าง‌ยิ่ง‌การ‌รักษา‌ระยะ‌ห่าง‌ ‌

ระหว่าง‌บุคคล‌ ‌หมั่น‌ล้าง‌มือ‌เสมอ‌ ‌ทำความ‌สะอาด‌พื้น‌ผิว‌ที่‌เสี่ยง‌ต่อ‌การ‌แพร่‌กระจาย‌

เชื้อ‌อย่าง‌สม่ำเสมอ‌ ‌งด‌ใช้‌ของ‌ส่วน‌ตัว‌ ‌

ร่วม‌กับ‌ผู้‌อื่น‌และ‌ที่‌สำคัญ‌คือ‌สวม‌ใส่‌หน้ากาก‌อนามัย‌ตลอด‌เวลา‌ ‌สิ่ง‌เหล่า‌นี้‌ยัง‌คง‌

เป็น‌วิถี‌ใหม่‌ต้อง‌ดำเนิน‌การ‌อยู่‌อย่าง‌เข้ม‌งวด‌ ‌

ทุก‌คน‌ทำได้‌ ‌“‌อยู่‌บ้าน‌ ‌หยุด‌เชื้อ‌ ‌เพื่อ‌ชาติ‌”‌ ‌ ‌

‌อีก‌หนึ่ง‌ปัจจัย‌สำคัญ‌ที่‌จะ‌ช่วย‌ยับยั้ง‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ของ‌โรค‌โค‌วิด‌-19‌ ‌คือ‌การ‌งด‌

รวม‌กลุ่ม‌สังสรรค์‌ ‌จาก‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ใน‌ ‌

หลาย‌ครั้ง‌ที่‌ผ่าน‌มา‌ ‌มัก‌จะ‌พบ‌จุด‌แพร่‌กระจาย‌เชื้อ‌ใน‌บริเวณ‌สถาน‌บันเทิง‌หรือ‌สถาน‌

ที่‌จัด‌กิจกรรม‌สังสรรค์‌ ‌ดัง‌นั้น‌ใน‌ช่วง‌เวลา‌ ‌

ที่‌พบ‌การ‌แพร่‌ระบาด‌ที่‌ผู้‌สัมผัส‌มี‌แนว‌โน้ม‌ติด‌เชื้อ‌ได้‌ง่าย‌ขึ้น‌ ‌การ‌งด‌รวม‌กลุ่ม‌สังสรรค์‌

จึง‌เป็น‌แนวทาง‌สำคัญ‌ที่‌จำเป็น‌ต้อง‌ ‌

ได้‌รับ‌ความ‌ร่วม‌มือ‌จาก‌ทุก‌คน‌ ‌

‌ขณะ‌เดียวกัน‌มาตรการ‌จาก‌หน่วย‌งาน‌ที่‌เกี่ยวข้อง‌ทั้ง‌ภาค‌รัฐ‌และ‌เอกชน‌ที่‌ส่ง‌เสริม‌

ให้‌ประชาชน‌ทำงาน‌หรือ‌ทำ‌กิจกรรม‌ใน‌บ้าน‌ของ‌ตนเอง‌จะ‌เป็น‌อีก‌ปัจจัย‌ที่‌ช่วย‌ลด‌

การ‌ติด‌เชื้อ‌ได้‌อย่าง‌มาก‌ ‌ใน‌กรณี‌นี้‌ ‌ศ‌.‌นพ‌.‌ยง‌ ‌ระบุ‌ว่า‌ ‌การนำ‌เทคโนโลยี‌มา‌ประยุกต์‌ ‌ ‌

ให้การ‌ทำงาน‌หรือ‌การ‌ประชุม‌ ‌สัมมนา‌อยู่‌ใน‌รูป‌แบบ‌ออนไลน์‌จะ‌เป็น‌ปัจจัย‌ที่‌ช่วย‌ลด‌

ความ‌เสี่ยง‌ใน‌การ‌สัมผัส‌เชื้อ‌ได้‌อย่าง‌ ‌

มาก‌ ‌ ‌

การ‌ปฏิบัติ‌ตน‌เมื่อ‌สัมผัส‌หรือ‌ใกล้‌ชิด‌กับ‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌ ‌

‌การ‌สัมผัส‌หรือ‌ใกล้‌ชิด‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌จะ‌มี‌โอกาส‌รับ‌เชื้อ‌เป็น‌โรค‌ได้‌ ‌ขึ้น‌อยู่‌กับ‌การ‌สัมผัส‌

ใกล้‌ชิด‌ ‌มี‌โอกาส‌เสี่ยง‌สูง‌ ‌เช่น‌ ‌พูด‌คุย‌ ‌

โดย‌ไม่‌สวม‌หน้ากาก‌อนามัย‌ ‌รับ‌ประทาน‌อาหาร‌ร่วม‌กัน‌ ‌ร่วม‌กิจกรรม‌เดียวกัน‌ ‌การ‌

สัมผัส‌ใกล้‌ชิด‌บ้าน‌เดียวกัน‌จะ‌มี‌ความ‌ ‌

เสี่ยง‌สูง‌มากกว่า‌สัมผัส‌ที่‌ทำงาน‌ ‌การ‌สัมผัส‌กับ‌ผู้‌ที่‌สัมผัส‌ผู้‌ป่วย‌ไม่‌ถือว่า‌มี‌ความ‌

เสี่ยง‌จนกว่า‌ผู้‌สัมผัส‌นั้น‌จะ‌ตรวจ‌พบ‌เชื้อ‌ ‌

หรือ‌ติด‌โรค‌ ‌ใน‌กรณี‌ที่‌มี‌ความ‌เสี่ยง‌สูง‌ ‌แนะนำ‌ให้‌กักตัว‌เอง‌ ‌ไม่‌สัมผัส‌ผู้‌ใด‌ ‌ดู‌อาการ‌

อย่าง‌น้อย‌ ‌14‌ ‌วัน‌ ‌และ‌ควร‌ตรวจ‌เชื้อ‌ ‌

ใน‌วัน‌ที่‌ ‌3-5‌ ‌1‌ ‌ครั้ง‌ ‌และ‌อีก‌ ‌1‌ ‌ครั้ง‌ ‌ใน‌ ‌1‌ ‌สัปดาห์‌ต่อ‌มา‌ ‌ยกเว้น‌ถ้า‌มี‌อาการ‌ให้‌ตรวจ‌เชื้อ‌

เลย‌ ‌ใน‌ผู้‌ที่‌มี‌ความ‌เสี่ยง‌ต่ำ‌ให้‌สังเกต‌ ‌

ตัว‌เอง‌ ‌ปฏิบัติ‌ตน‌อย่าง‌เคร่งครัด‌ ‌สวม‌ใส่‌หน้ากาก‌อนามัย‌ ‌ล้าง‌มือ‌ ‌กำหนด‌ระยะ‌ห่าง‌

ไม่‌เข้า‌ใกล้‌บุคคล‌ใด‌เด็ด‌ขาด‌ ‌การ‌ตรวจ‌หา‌ ‌

เชื้อ‌ควร‌ทำ‌ใน‌ผู้‌ที่‌มี‌ความ‌เสี่ยง‌สูง‌เท่านั้น‌ ‌เช่น‌ ‌ถ้า‌ใน‌บริษัท‌ที่‌ทำงาน‌มี‌ผู้‌ติด‌เชื้อ‌หนึ่ง‌

คน‌ ‌ก็‌พิจารณา‌ความ‌เสี่ยง‌ ‌เช่น‌ ‌เสี่ยง‌สูง‌ควร‌ ‌

เข้า‌รับ‌การ‌ตรวจ‌ ‌การ‌ตรวจ‌หมด‌ทุก‌คน‌โดย‌เฉพาะ‌ความ‌เสี่ยง‌ต่ำ‌จะ‌ไม่‌เกิด‌ประโยชน์‌

เลย‌ ‌และ‌ไม่มี‌ใคร‌สามารถ‌รับ‌ประกัน‌ว่า‌ ‌

ตรวจ‌วัน‌นี้‌ไม่‌พบ‌เชื้อ‌แล้ว‌จะ‌ปลอดภัย‌ ‌ไม่‌พบ‌เชื้อ‌ของ‌ผู้‌สัมผัส‌ตลอด‌ไป‌ ‌

การ‌ดูแล‌ตัว‌เอง‌ใน‌ผู้‌สูง‌อายุ‌และ‌/‌หรือ‌ผู้‌มี‌โรค‌ประจำ‌ตัว‌ ‌

‌ผู้‌สูง‌อายุ‌ ‌ผู้‌ที่‌มี‌โรค‌ประจำ‌ตัว‌ ‌ถือว่า‌เป็นก‌ลุ่ม‌เสี่ยง‌ ‌ความ‌รุนแรง‌ของ‌โรค‌จะ‌สูง‌ขึ้น‌

ตาม‌อายุ‌ที่‌มาก‌ขึ้น‌ ‌และ‌การ‌มี‌โรค‌ประจำ‌ตัว‌ ‌ ‌

เช่น‌ ‌โรค‌เบา‌หวาน‌ ‌โรค‌อ้วน‌ ‌โรค‌หัวใจ‌ ‌โรค‌ปอด‌ ‌สตรี‌ตั้ง‌ครรภ์‌ ‌ความ‌ดัน‌โลหิต‌สูง‌ที่‌

ควบคุม‌ไม่‌ได้‌ ‌เป็นต้น‌ ‌บุคคล‌ใน‌กลุ่ม‌ ‌

ดัง‌กล่าว‌จะ‌ต้อง‌ปฏิบัติ‌ตน‌อย่าง‌เคร่งครัด‌ใน‌การ‌ป้องกัน‌ตนเอง‌ ‌ไม่‌ว่า‌จะ‌เป็นการ‌สวม‌

ใส่‌หน้ากาก‌อนามัย‌เวลา‌ออก‌จาก‌บ้าน‌ ‌ ‌

ล้าง‌มือ‌ไม่‌ไป‌ใน‌สถาน‌ที่‌ที่‌มี‌คน‌เป็น‌จำนวน‌มาก‌หรือ‌แออัด‌ ‌ปฏิบัติ‌ตน‌ตาม‌สุข‌อนามัย‌

ให้‌ร่างกาย‌แข็ง‌แรง‌อยู่‌เสมอ‌ ‌บุคคล‌ใน‌ ‌

ครอบครัว‌ทุก‌คน‌จะ‌ต้อง‌พึง‌ตระหนัก‌อยู่‌เสมอ‌ว่า‌อาจ‌จะ‌เป็น‌ผู้นำ‌โรค‌มา‌สู่‌ท่าน‌ ‌จะ‌ต้อง‌

ป้องกัน‌อย่าง‌เคร่งครัด‌ ‌นอกจาก‌นี้‌ ‌ ‌

ผู้‌สูง‌อายุ‌และ‌ผู้‌ที่‌มี‌โรค‌ประจำ‌ตัว‌ ‌จะ‌ต้อง‌ได้‌รับ‌วัคซีน‌ใน‌การ‌ป้องกัน‌โรค‌เป็นก‌ลุ่ม‌

วารสาร‌ ‌The‌ ‌Prestige‌ ‌of‌ ‌KCMH‌ ‌&‌ ‌MDCU‌ ‌ปี‌ที่‌ ‌16‌ ‌ฉบับ‌ที่‌ ‌62‌ ‌ประจำ‌เดือน‌ ‌

พฤษภาคม‌ ‌2564‌ ‌โรง‌พยาบาล‌จุฬาลงกรณ์‌ ‌สภากาชาดไทย‌ ‌

28 May 2564

By Lib/STY

Views, 1107

 

Preset Colors