02 149 5555 ถึง 60

 

ปรับไลฟ์สไตล์รับมือภาวะซึมเศร้า

SEASONAL AFFECTIVE DISORDERปรับไลฟ์สไตล์รับมือภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (SAD) พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว และมักมีอาการดีขึ้นในช่วงฤดูร้อน เคลลี่ โรฮัน (Kelly Rohan) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ อธิบายว่า โรคอารมณ์แปรปรวนตามฤดูกาลทั้งชนิดรุนแรงและไม่รุนแรงส่งผลกระทบต่อประชากรสหรัฐอเมริกาประมาณร้อยละ 5 โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษากับนักบำบัด

สำหรับบุคคลที่ยังไม่มีอาการของเอสเอดีบ่งชี้แน่ชัด แต่กำลังมองหาวิธีรับมือ สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญดังต่อไปนี้

🕗 จัดตารางเวลา รักษากิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ จัดตารางเวลาตั้งแต่เวลาเข้านอน ตื่นนอนในตอนเช้า รวมถึงการกินอาหารให้ตรงตามเวลา ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพจิต

🍛 ทำงานอดิเรก ค้นหางานอดิเรกง่ายๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน อาจทำให้เกิดความสุขโดยที่คุณไม่รู้ตัว เช่น การอ่านหนังสือ เล่นเกม ทำอาหาร ปรนนิบัติผิว เป็นต้น

จำกัดการบริโภคสื่อหรือเวลาในการรับข่าวสารไม่เกิน 30 นาทีต่อวัน เลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่น อยากทราบข่าวสารเกี่ยวกับโคโควิด-19 สามารติดตามข่าวไดที่กรมอนามัยหรือหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติพบว่า การรับข่าวสารมากเกินไปสัมพันธ์กับความทุกข์ทางจิตใจ

👼 ฝึกการคิดเชิงบวก หมั่นสังเกตความคิดในแต่ละวันว่าตนเองมักเกิดความเครียดหรือวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องใดมากที่สุด หาวิธีขจัดความเครียดโดยการเบี่ยงเบนความสนใจจากความคิดเหล่านั้นด้วยกิจกรรมสนุกๆ และพยายามมุ่งเน้นความคิดไปในทางด้านบากให้มากขึ้น

แม้คนไทยจะโชคดีที่อยู่ในเขตร้อน ไม่ต้องเจอกับภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล แต่ก็อย่าลืมสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิด เพราะโรคซึมเศร้าอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิดค่ะ..

นิตยสารชีวจิต ปีที่ 23 ฉบับที่ 535 เดือนมกราคม 2564

31 May 2564

By STY/Lib

Views, 847

 

Preset Colors