02 149 5555 ถึง 60

 

อ.อนามัย... ส่วนบุคคล-สังคม-สิ่งแวดล้อมอย่างไร ต้านภัยเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา (ตอนจบ)

อ.อนามัย... ส่วนบุคคล-สังคม-สิ่งแวดล้อมอย่างไร ต้านภัยเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา (ตอนจบ)

ก้าวทันสุขภาพ เรื่องโดย... นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์

ปลีกวิเวก หลีกภัย ไม่คลุกคลี อย่างไร ไม่เพิ่มโรคเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา

มาตรการสร้าง “อนามัยสังคม-สิ่งแวดล้อม” (เช่น กักตัว อยู่บ้าน) ร่วมกับ “อนามัยส่วนบุคคล” (เช่น กินร้อน ช้อนเรา ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย) ช่วยลดการติดเชื้อ ป่วย พิการ เสียชีวิตจากโรคระบาดโควิ-19 ได้

อย่างไรก็ตาม โรคเอ็นซีดี (เช่น เบาหวาน ความดันฯ โรคหัวใจ หลอดเลือด) และโรคจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอื่น (เช่น พีเอ็ม 2.5) ก็อาจเพิ่มขึ้นจากมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะคนไทยเรา เสียชีวิตจากโรคระบาดโควิ-19 จำนวน 58 คน ในเวลา 4 เดือน (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา) แต่ในช่วงเวลาเดียวกันเสียชีวิตจากโรคเอ็นซีดีไม่ต่ำกว่า 100,000 คน (ทุก 6 นาที คนไทยเสียชีวิตจากโรคเอ็นซีดี 4 คน หรือ “เอ็นซีดี หกนาทีตายสี่”)

ดังนั้น มาตรกรป้องกัน “โรคติดต่อ” เช่น โรคระบาดโควิด-19 ต้องควบคู่ไปกับมาตรการป้องกัน “โรคไม่ติดต่อ” เช่น โรคเอ็นซีดี โรคจากฝุ่นพิษพีเอ็ม 2.5 ด้วย กล่าวคือ อ.อาหาร (อิ่มและอดอย่างไร ต้านภัยเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา ในหมอชาวบ้าน เดือนมิถุนายน 2563) อ.อิริยาบถ ออกแรง ออกกำลังกาย (อิริยาบถอย่างไรฯ หมอชาวบ้านเดือนกรกฎาคม 2563 และอยู่ในเรือนไฟอย่างไรฯ หมอชาวบ้านเดือนสิงหาคม 2563) อ.อามัยสังคม-สิ่งแวดล้อม (ปลีกวิเวก หลีกภัย ไม่คลุกคลี อย่างไร) และอนามัยส่วนบุคคล (กินร้อน ช้อนเรา ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย) ส.สูบบุหรี่ ส.สุรา (เลิกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ยาเสพติดให้โทษ) สรุปคือ ใส่ใจ 4 อ. บอกลา 2 ส.

ตังชีวัดวิ๔ชีวิตใหม่

ตัวชี้วัดวิถีชีวิตใหม่ (new normal) ในกรป้องกันเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา คือ น.น.ค.ร. 2 ส. ส.ว.ย.

การปรับเปลี่ยนชีวิตตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (new normal) หรือ 4 อ. 2 ส. ดังกล่าว ก็ต้องมีเป้าหมายและต้องบอกให้ทราบว่า การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่วนไหนมากไป ส่วนไหนน้อยไป ส่วนไหนทำพอดีแล้ว เพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตัวเองกำหนดไว้ (ปรับเปลี่ยนไปสู่เป้าฯ) ถ้าเกินเป้าหมายอยู่ ลดได้ลด ลดไม่ได้ก็อย่าให้เพิ่ม โดยการปรับเปลี่ยนชีวิตดังกล่าว

เป้าหมายของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และตัวชี้วัดวิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ น.น.ค.ร. 2 ส. ส.ว.ย.

น. น้ำหนัก เป้าหมายคือ น้ำหนัก (กก.) ไม่เกิน คำนวณจากความสูง (เมตร) ยกกำลังสอง คูณ 23 (สำหรับดัชนีมวลกายไม่เกิน 23 กก./ตร.ม.) หรือคูณ 25 (ดัชนีมวลกายไม่เกิน 25 กก./ตร.ม.)

น. น้ำตาลในเลือด เป้าหมายคือ น้ำตาลในเลือดหลังกินอาหาร 2 ชั่วโมงไม่เกิน 140 มก./ดล. (คนที่ยังไม่เป็นเบาหวาน) หรือไม่เกิน 180 มก./ดล. สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

ค. ความดันเลือด เป้าหมายคือ ความดันเลือดตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และความดันเลือดตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท

ร. รอบเอว เป้าหมายคือ ความยาวรอบเอววัดตามวิธีมาตรฐานที่ระดับสะดือ ไม่เกิน ส่วนสูงหารสอง

ส. สูบบุหรี่ เป้าหมายคือ งดสูบบุหรี่และดมควันบุหรี่

ส. สุรา เป้าหมายคือ งดดื่มสุรา แอลกอฮอล์ทุกชนิด

อ. อาหาร เป้าหมายคือ กินอาหาร 2:1:1+ (2 ผัก-ถั่ว งา 1 ปลา 1 ข้าวกล้อง-ผลไม้และน้ำสะอาด) ทุกมื้อ

อ. อิริยาบถ ออกแรง ออกกำลังกาย เป้าหมายคือ เดินเกินวันละ 8,000 ก้าว และเดินเร็ว 3,000 ก้าว ใน 30 นาทีทุกวัน

อ. ออกกำลังใจ เป้าหมายคือ มีสติประกอบการงาน ใจระลึกฐานกาย นั่งรู้ลมหายใจ ไม่เพลินในอารมณ์

อ.อากาศ เป้าหมายคือ หลีกเลี่ยงที่มีฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เกณฑ์มาตรฐาน อยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทได้ดี ที่โล่ง มีลม มีแดด

อ. อนามัยส่วนบุคคล อนามัยสังคมและสิ่งแวดล้อม คือ กินร้อน ช้อนเรา ล้างมือ ถือระยะห่างกัน ใส่หน้ากากอนามัย เป็นต้น นอกจากนี้

- อ. อุณหภูมิ เป้าหมายคือ วัดอุณหภูมิร่างกายไม่เกิน 37.5 องศาเซลเซียส (ในช่วงที่มีโรคระบาดทางเดินหายใจ)

- อ. อาการ-อาการแสดง อวัยวะผิดปกติ เช่น อาการไอ เหนื่อย หายใจไม่สะดวก เป็นต้น เป้าหมายคือ ประเมินตนเองทุกวัน

- อ. โอกาสเสี่ยงฯ เป้าหมายคือ โอกาสเสี่ยงในการเกิด พิการ ตายจากเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา ต่ำที่สุดโดยไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่นให้เดือดร้อนจากการปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่เหล่านี้

อ. โอสถ เป้าหมายคือ มียารักษา ป้องกันโรคที่พอเพียง และกินยา ใช้ยา ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

อ. อาชีพ เป้าหมายคือ ป้องกันโรคที่เกิดจากการทำงาน มีอาชีพ รายได้ท่วมรายจ่าย ไม่เป็นหนี้สิน

ส. สติ (รู้ว่ามี... รู้ว่าเป็น...) เป้าหมายคือ “ละความเพลิน” ในการอร่อยเพลิน อยู่สบายเพลิน เอาแต่ใจเพลิน สูบบุหรี่ เสพสุราเพลิน จนน้ำหนักขึ้น เข็มขัดคับ ความดันเลือดสูง โดยไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น

ว. วางเฉย เป้าหมายคือ “ละความคิดฟุ้งซ่าน” (หรือ ความกังวลจนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ) ได้ในชีวิตประจำวัน

ย. ยินดี ความปีติยินดี เป้าหมายคือ “ละความเซ็งซึมเศร้า” ได้ในชีวิตประจำวัน

วิถีชีวิตใหม่ (new normal) ตัวชี้วัดและเป้าหมายเหล่านี้ แต่ละคนสามารถที่จะเลือกเองว่า จะตั้งเป้าหมายอะไร และตัวชีวัดอะไร ในการปรับเปลี่ยนฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อป้องกันโรค ไม่เพิ่มโรค เช่น

ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ก็อาจเลือกแค่ น.ค.ร. ส.ว.ย. คือ น้ำหนัก ความดันฯ รอบเอว สต วางเฉย ยินดี เป็นตัวประเมินกายและใจ ว่าเรื่อง อ.อาหาร อ.ออกกำลังกาย อ.ออกกำลังใจ อ.อากาศ อ.อนามัยส่วนบุคคลและอนามัยสังคม-สิ่งแวดล้อม อ.อาชีพ อ.โอสถ (7 อ.) ที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวันดีหรือยัง เป็นต้น โดยอยู่บนพื้นฐานหลักการ “ไม่ทำให้ตนเองและคนอื่นเดือดเนื้อร่อนใจ”

“น.น.ค.ร. 2 ส. ส.ว.ย.” ทางเลือกต้านภัยเอ็นซีดี, พีเอ็ม 2.5, ไวรัสโคโรนา🏥

หมอชาวบ้าน ปีที่ 42 ฉบับที่ 502 เดือนกุมภาพันธ์ 2564

28 June 2564

By STY/Lib

Views, 826

 

Preset Colors