02 149 5555 ถึง 60

 

วัคซีน COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

วัคซีน COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

เรื่องโดย นพ.ภาสกร วันชัยจิระบุญ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

วิกฤตการณ์ไวรัสโคโรนา-๑๙ เป็นภาวะที่เราต้องพบเจอกันในตอนนี้ประมาณ ๑ ปีกว่าๆแล้ว ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อ การสูญเสีย มากมายทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นทางการแพทย์หรือว่าไม่ใช่ทางการแพทย์ เช่น ธุรกิจ เป็นต้น และเนื่องด้วยปริมาณการติดเชื้อที่สูงมาก จึงทำให้ไวรัสมีโอกาสในการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ เช่น สายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เป็นต้น

การควบคุมการติดเชื้อ เช่น ใส่หน้ากาก ล้างมือ กินอาหารด้วย ช้อนตัวเอง และไม่อยู่ในที่ชุมชนที่แออัด การควบคุมการแพร่กระจายของเชื้ออีกอย่าง คือ การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ซึ่งประกอบไปด้วยเชื้อที่ตายแล้ว หรือโดยวัคซีนทั้งหมดที่อยู่ในการศึกษา และรวมถึงที่อนุมัติให้เริ่มใช้ได้แล้วในบางประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งหมด ๔ ชนิด และประสิทธิภาพดังรายละเอียดตามตาราง

“การติดเชื้อที่สูงมาก ทำให้ไวร้สมีโอกาสกลายพันธุ์”

ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 (อ้างอิงจาก:คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

วัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนโมเดอร์นา วัคซีนแอสตรา วัคซีนซิโนแวค

ชื่อวัคซีน BNT162 mRNA - 1273 AZD1222 CoronaVac

ประเทศผู้ผลิต สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน

เทคนิคของวัคซีน mRNA mRNA Adenovirus พาหะ วัคซีนเชื้อตาย

ประสิทธิภาพของวัคซีน ๙๕% ๙๔.๕% เฉลี่ย ๗o.๔% >๕o.๓%

การให้วัคซีน ๒ ครั้ง ห่างกัน ๒ ครั้ง ห่างกัน ๒ ครั้ง ห่างกัน ๒ ครั้ง ห่างกัน

๓ สัปดาห์ ๔ สัปดาห์ ๔ สัปดาห์ ๒-๔ สัปดาห์

ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

การเก็บรักษาวัคซีน -๗o ํC -๒o ํC (นาน ๖ เดือน) ๒-๘ ํC ๒-๘ ํC

๒-๘ ํC (นาน ๑ เดือน) อย่างน้อย ๖ เดือน

ผลข้างเคียงที่ อากาารุนแรง อาการรุนแรงที่เกิด อาการรุนแรงที่ ยังไม่มีรายงาน

รุนแรงจากวัคซีน ที่เกิดขึ้นไม่พบว่า ขึ้นไม่พบว่าเกี่ยวข้อง เกิดขึ้นไม่พบว่า จากการวิจัย

เกี่ยวข้องกับวัคซีน กับวัคซีน เกี่ยวข้องกับวัคซีน ทดลองระยะที่ ๓

ประเทศที่ได้รับ ๕๐ ประเทศ ๓๖ ประเทศ ๗ ประเทศ ๓ ประเทศ

อนุมัติให้ใช้

(๑๕ ม.ค.๖๔)

หมายเหตุ:เนื่องจากยังไม่มีการวิจัยที่นำมาประสิทธิภาพมาเทียบกันโดยตรง (Head to head study) การเปรียบเทียบของประสิทธิภาพของวัคซีน แต่ละชนิดจะต้องแปลผลด้วยความระมัดระวัง

วัคซีนชนิดที่ ๑ “ mRNA vaccine ” ผลิตจากสารพันธุกรรมของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิดด-๑๙ หรือไวรัสชาร์ส-โควี-๒ (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดวัคซีนเข้ามาในร่างกายมนุษย์ ตัวสารพันธุกรรมจะทำให้ร่างกายมนุษย์สร้างโปรตีนที่สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมา ซึ่งวัคซีนในกลุ่มนี้ คือ วัคซีนจากบริษัทไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) และของบริษัทโมเดอร์นา (Modema) ประเทศสหรัฐอเมริกา

วัคซีนชนิดที่ ๒ “viral vector vaccine” โดยใช้หลักการฝากสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-๒ (SARS-CoV-2) เข้าไปในไวรัสพาหะชนิดอื่นๆ เช่น adenovirus เพื่อพาเข้ามาในร่างกายมนุษย์ และทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสขึ้นมาได้ โดยวัคซีนในกลุ่มนี้ ได้แก่ วัคซีนของบริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ของประเทศอังกฤษ ซึ่งวัคซีนตัวนี้เป็นตัวที่รัฐบาลไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตราเซเนกา

วัคซีนชนิดที่ ๓ “วัคซีนแบบใช้โปรตีน (protein-based vaccine)” ซึ่งเป็นวัคซีนที่ประกอบด้วยโปรตีนของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-๒ (SARS-CoV-2) โดยอาจใช้เป็นชิ้นส่วนโปรตีนของไวรัส เช่น โปรตีนส่วนหนาม (spike protein) เช่น วัคซีน Novavax

วัคซีนชนิดที่ ๔ “วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)” ซึ่งผลิตโดยการใช้ไวรัสซาร์ส-โควี-๒ (SARS-CoV-2) ที่ถูกทำให้เชื้อตายแล้ว ได้แก่ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) ซึ่งเป็นบริษัทซิโนแวค (SinoVac) ประเทศจีน

ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งถือว่าเป็นกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยง ถ้าเกิดว่ามีการติดเชื้อ ก็อาจจะทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้น อีกทั้งเชื้ออาจจะตกค้างอยู่ในร่างกายนาน ทำให้เกิดการกลายพันธุ์ได้

จึงได้มีข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยมะเร็งจากมะเร็งวิทยาสมาคมว่า คนไข้มะเร็ง “สามารถฉีดวัคซีนได้ทุกชนิด”

โดยผู้ป่วยที่สามารถรับวัคซีนได้เลย คือ ผู้ป่วยได้รับยามุ่งเป้า หรือยาภูมิคุ้มกันบำบัด หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็งเรียบร้อยแล้ว

แต่ผู้ป่วยที่ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้รักษา เพื่อพิจารณาระยะเวลาที่เหมาะสม คือ ผู้ป่วยที่กำลังจะได้รับการผ่าตัด และกำลังจะได้รับยาเคมีบำบัด เพราะการได้รับวัคซีนในช่วงเดียวกับเคมีบำบัด อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงได้

วารสารหมอชาวบ้านปีที่ 42 ฉบับที่ 506 มิถุนายน 2564

1 July 2564

By STY/Lib

Views, 5146

 

Preset Colors