02 149 5555 ถึง 60

 

COVID-19 SYMPTOMS UPDATE อัพเดทอาการโควิด-19

COVID-19 SYMPTOMS UPDATE อัพเดทอาการโควิด-19

เรื่องโดย ศิริกร โพธิจักร

ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสและระบาดวิทยาทั่วโลกมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ทุกคนต้องใช้ชีวิตกับโรคระบาดโควิด-19

(COVID-19) ไปอีกนาน ด้วยเหตุที่ไวรัสมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว ชีวจิตจึงนำข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับอาการของโรคนี้มา

เสนอให้ผู้อ่านทราบ จะได้สังเกตอาการและเข้าสู่การรักษาได้ทันท่วงที ดังนี้

WHO’S GUIDELINE

องค์การอนามัยโลกแนะวิธีสังเกตอาการโรคโควิด-19

ในภาวะโรคระบาดเช่นนี้ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป รับทราบข้อมูลที่ถูกต้ององค์การอนามัย

โลกได้สรุปอาการของโรคโควิด-19 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.กลุ่มอาการหลัก ในผู้ใหญ่พบว่า มีไข้หรือไอแห้งๆ ต่อเนื่องกัน หายใจลำบาก เหนื่อยอ่อนเพลีย มีน้ำมูก ปวดตามเนื้อ

ตัว ปวดหัว

ส่วนในเด็กนั้น ระบบบริการสุขภาพ (National Health Service) สหราชอาณาจักร ระบุเพิ่มเติมว่า กรณีเด็กอายุ 0-10 ปี

นอกจากกลุ่มอาการด้านบนแล้วยังมีอาการไข้สูง 5 วันขึ้นไป แม้ให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล แล้วไข้ก็ไม่ลดลง

ประกอบกับเบื่ออาหาร พบการอักเสบบริเวณผิวหนังหรือผื่นแดง และมีอาการท้องเสียร่วมด้วย

2.กลุ่มอาการที่พบในผู้ติดเชื้อบางราย ได้แก่ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้น้อยลง คัดจมูก ตาแดง เจ็บคอ มีผื่นแดง ปวดข้อ

คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ รู้สึกหนาวหรือครั่นเนื้อครั่นตัว

3.กลุ่มอาการที่พบในผู้ติดเชื้อรุนแรง ได้แก่ ไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หายใจได้เป็นห้วงๆ ไม่สามารถหายใจ

ต่อเนื่องได้ตามปกติ เบื่ออาหาร สับสน รู้สึกเจ็บหน้าอกเหมือนถูกกดไว้

ในผู้ป่วยบางรายพบว่า มีอาการหงุดหงิด วิตกกังวล ซึมเศร้า เพ้อ ไม่รู้ตัว ชัก นอน ไม่หลับ ขณะที่ในรายที่เกิดการ

อักเสบรุนแรงส่งผลให้มีอาการทางระบบประสาทและสมอง ทำให้เกิดเส้นเลือดในสมองแตก สมองอักเสบ ไม่สามารถ

สื่อสารด้วยคำพูด เคลื่อนไหวด้วยตัวเองไม่ได้

COVID-19 MUTATION

อัพเดตการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19

ศาสตราจารย์นิค โลมาน ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์ของแบคทีเรียและไวรัสประจำสถาบัน The Institute for

Microbiology and Infection แห่งมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม สหราชอาณาจักร อธิบายว่า ขณะนี้เชื้อโควิด-19 ที่แพร่

ระบาดโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกไม่ใช่ชนิดเดียวกับเชื้อที่ตรวจพบครั้งแรกเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน

แต่มีการกลายพันธุ์เพราะตรวจพบการเปลี่ยนลำดับพันธุกรรม 20 ตำแหน่งแล้ว โดยเชื้อกลายพันธุ์ล่าสุด B.1.1.7 หรือที่

มักเรียก ว่า “เชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ” นั้นมีการเปลี่ยนลำดับพันธุกรรมสูงถึง 17 ตำแหน่งในครั้งเดียว

เขากล่าวว่า นักวิจัยทั่วโลกกำลังจับตาดูการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 อย่างใกล้ชิดและพบว่า ตั้งแต่การระบาดเมื่อ

เดือนมกราคม ค.ศ.2020 ในจีนเฉลี่ยแล้วเกิดการเปลี่ยนลำดับเดือนละ 1-2 ตำแหน่ง และอาจเป็นสาเหตุส่งเสริมให้เชื้อ

กลายพันธุ์ดังกล่าวมีการแพร่ระบาดเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 70

เซอร์แพทริค วัลเลซ แพทย์และนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าที่ปรึกษาคณะรัฐมนตรีด้านวิทยาศาสตร์

สหราชอาณาจักร ระบุว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษ หรือ B.1.1.7 มีรายงานการพบครั้งแรกในเดือน

กันยายนปี ค.ศ.2020 ในสหราชอาณาจักร ทำให้เกิดการติดเชื้อและมีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลคิดเป็น

ร้อยละ 26 ของผู้ป่วยโรคนี้ทั้งหมด เฉพาะในกรุงลอนดอน ร้อยละ 60 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นการติดเชื้อกลายพันธุ์

B.1.1.7

ทีมวิจัย SARS-CoV-2 lineages โดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ชั้นนำในสหราชอาณาจักร เช่น

มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเอดินบะระ และออสเตรเลีย เช่น มหาวิทยาลัยซิดนีย์ และ Australian National

University ระบุว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ B.1.1.7 พบในประเทศต่างๆ รวม 39 ประเทศทั่วโลก

ส่วนในประเทศไทยนั้นมีรายงานพบผู้ติดเชื้อกลายพันธุ์นี้ในวันที่ 3 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยศาสตราจารย์

นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 กลายพันธุ์ B.1.1.7 นั้นเป็นครอบครัวชาวอังกฤษ

ติดเชื้อทั้ง 4 คนและได้รับการดูแลในโรงพยาบาลเอกชนอย่างรัดกุมแล้ว ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารเพื่อรับทราบ

ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ตระหนกจนเกินไป

ทั้งนี้นายแพทย์ยงทิ้งทาย ขอความร่วมมือให้ทุกคนปฏิบัติตามแนวทางเดมอย่างเคร่งครัด ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย

ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการไปในที่ผู้คนหนาแน่น

5 DIFFERENCES

ความแตกต่างเมื่อเทียบกับโรคไข้หวัดใหญ่

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อ (Centers for Disease Control and Prevention) สหรัฐอเมริกา ระบุว่า แม้อาการของ

โรคโควิด-19 นั้นใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ยังมีข้อแตกต่าง 5 ประการดังนี้

1.การแสดงอาการหลังรับเชื้อ ในไข้หวัดใหญ่เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะเริ่มแสดงอาการภายใน 4 วัน ขณะที่ร่างกายมีเชื้ออยู่

จะสามารถแพร่ไปสู่คนอื่นๆได้ แต่โรคโควิด-19 ส่วนใหญ่จะใช้เวลามากกว่า 5 วัน หลังการรับเชื้อจึงจะเริ่มแสดงอาการ แต่มีบางรายที่เริ่มแสดงอาการภายใน 2 วันหลังรับเชื้อ หรืออาจแสดงอาการล่าช้า

ออกไปถึง 14 วันหลังรับเชื้อ

2.การแพร่เชื้อ ในไข้หวัดใหญ่ก่อนมีอาการ 1 วันก็สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้แล้ว และมีการแพร่เชื้อสูงสุด

ในวันที่ 3-5 หลังแสดงอาการ จากนั้นยังสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้ถึงวันที่ 7 ส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19

สามารถแพร่เชื้อได้ 2 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการและหลังแสดงอาการแล้วสามารถแพร่เชื้อต่อได้อีก 10 วัน

นอกจากนี้โรคโควิด-19 ยังมีการแพร่กระจายเชื้อ เกิดการระบาดได้เร็วและแผ่ขยายวงกว้างกว่าโรคไข้หวัดใหญ่

แต่ยังไม่สูงเท่ากับโรคหัวซึ่งเป็นโรคในกลุ่มโรคติดต่อจากไวรัสที่แพร่เชื้อได้รวดเร็วและแผ่ขยายวงได้สูงสุด

3.การอักเสบและผื่นแดงที่พบในเด็ก ศูนย์การแพทย์ Mayo Clinic สหรัฐอเมริกา ระบุว่า โดยทั่วไปเด็กที่รับเชื้อโควิด-19

มักมีอาการไม่มาก แต่ในบางรายพบว่ามีอาการอักเสบในอวัยวะต่างๆ อย่างรุนแรงผิดปกติ (Multisystem Inflammatory-

Syndrome in Children หรือ MIS-C) ได้แก่ หัวใจ ปอด หลอดเลือด ไต ระบบย่อยอาหาร สมอง ผิวหนัง และดวงตา

หากพบว่าเด็กมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปร่วมกับมีประวัติเดินทางเข้าพื้นที่การระบาดหรือเคยสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย

โควิด-19 ต้องรีบพาไปพบแพทย์ด่วน ได้แก่ มีไข้สูงมากกว่า 1 วัน ปวดหัว อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีผื่นแดงตาม

ผิวหนัง อ่อนเพลีย ตาริมฝีปาก และลิ้นมีสีแดง มือหรือเท้าบวม ต่อมน้ำเหลืองโต

4.การอักเสบรุนแรงในอวัยวะต่างๆ ที่พบในผู้ใหญ่ ศูนย์การแพทย์ Mayo Clinic สหรัฐอเมริกา อธิบายว่า กลุ่มอาการ

Multisystem lnflammatory Syndrome in Adults หรือ MIS-A ที่พบในผู้ใหญ่นี้น่ากังวลมากกว่าที่พบในเด็ก เพราะมักพบ

อาการเหล่านี้หลังจากผู้ป่วยรับเชื้อผ่านไปหลายสัปดาห์ หรืออาจพบอาการหลังระยะเฝ้าระวังคือ 14 วันไปแล้ว

ดังนั้น หากต้องการทราบว่าการอักเสบรุนแรงในอวัยวะต่างๆ ที่พบในผู้ใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นมีสาเหตุจากเชื้อโควิด-19

หรือไม่จำเป็นต้องตรวจยืนยัน โดยใช้วิธีตรวจแอนติบอดี้

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อธิบายเพิ่มเติมว่า อาการดังกล่าวเป็นผลจากการพัฒนาของไวรัส

ที่สามารถรุกล้ำ จากระบบทางเดินหายใจเข้าไปในระบบเลือดจนเกิดวงจรการติดเชื้อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่

ระบบเลือดและหลอดเลือด ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงวนซ้ำในที่สุดเช่น Auto-Inflammatory System IL-1beta IL6

TNF Loop จึงเป็นเหตุผลที่ว่า แม้จะจำกัดไวรัสออกไปจนหมด แต่ผู้ป่วยก็เสียชีวิตหรือเกิดความเสียหายที่อวัยวะต่างๆ

อย่างรุนแรงได้

5.ลิ่มเลือดอุดตัน ในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มักมีอาการดีขึ้นภายใน 2-3 วันหรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ มีบางรายที่พบ

ภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การติดเชื้อที่ไซนัสและหู ปอดบวม ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืดและโรคหัวใจ

เมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จะยิ่งทำให้อาการของโรคเดิมแย่ลง

ส่วนในโรคโควิด-19 นั้น ผู้ป่วยใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่า และในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงถึงแก่ชีวิต คือ

มีลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งข้อนี้เป็นข้อแตกต่างสำคัญที่สุดเมื่อเทียบกับโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มไข้หวัดอื่นๆ เพราะเป็นสาเหตุ

ให้เสียชีวิตและต้องสูญเสียอวัยวะต่างๆ

รายงานจากทีมวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสหรัฐอเมริกา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร EClinical-

Medicine by The Lancet วิเคราะห์งานวิจัย 84 ชิ้น ครอบคลุมตัวอย่างผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 8,000 ราย พบว่าร้อยละ 20

ของผู้ป่วยโรคนี้มีลิ่มเลือดในกระแสเพิ่มขึ้น หากเป็นผู้ป่วยโรคนี้ที่มีอาการหนักจนต้องอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤติ เช่น

เส้นเลือดในปอดอุดตัน หลอดเลือดดำส่วนลึกอุดตัน เส้นเลือดแดงอุดตัน สายสวนอุดตัน และการแข็งตัวของหลอดเลือด

ผิดปกติทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้

ทีมวิจัยชี้แจงว่า แม้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการหนักมักจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะ

เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับโรคในกลุ่มไข้หวัดอื่นๆ การเกิดลิ่มเลือดนั้นมีน้อยมากและมักเกิด

เฉพาะในหลอดเลือดดำ เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A H1N1 หรือไข้หวัดเม็กซิโก ขณะที่ในโรคโควิด-19 พบลิ่มเลือดได้

ทั้งในหลอดเลือดดำแลหลอดเลือดแดง นั่นจึงเป็นข้อแตกต่างที่เป็นอันตรายถึงชีวิตและสร้างความเสียหายให้เกิดต่อ

อวัยวะต่างๆได้มากกว่าและรุนแรงกว่า

เมื่อทราบอาการและความแตกต่างดังกล่าวแล้ว ขอให้นำไปใช้สังเกตอาการ เพื่อจะได้เข้าสู่การรักษาได้อย่างทันท่วงที

ชีวจิตหวังว่าเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันในที่สุดค่ะ

นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 536 ปีที่ 23 1 กุมภาพันธุ์ 2564

6 July 2564

By STY/Lib

Views, 125413

 

Preset Colors