02 149 5555 ถึง 60

 

รวมวัคซีนแถวหน้า ผ่านการทดสอบทุกขั้นตอน

7 LEADING VACCINES TIMELINE รวมวัคซีนแถวหน้า ผ่านการทดสอบทุกขั้นตอน

จนถึงขณะนี้ทั่วโลกมีวัคซีนเพียง 12 ชนิดจาก 92 ชนิดที่ผ่านการทดสอบทั้ง 3 เฟส และมีเพียง 7 ชนิดที่ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลกได้แก่ ไฟเซอร์ แอสตราเซเนกา โควิชิลด์ จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ซิโนฟาร์ม และซิโนแวค

โดยเรียงตามลำดับการส่งข้อมูลเพื่อให้องค์การอนามัยโลกรับรอง ดังนี้

31 ธันวาคม 2020

ไฟเซอร์

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด m RNA

●ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 91.3 ช่วยให้ระดับภูมิคุ้มกันขึ้นสูง สามารถป้องกันการเจ็บป่วยถึงขั้นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่เมื่อฉีดครบ 2 เข็ม และมีประสิทธิภาพร้อยละ 64 ในกลุ่มประชาชนวัยผู้ใหญ่ที่ฉีดเพียง 1 เข็ม

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในสวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ บราซิล ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน และอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 85 ประเทศ ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ เกาหลีใต้

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 24 ครั้งใน 14 ประเทศ

-ล่าสุดองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศขยายกลุ่มประชากรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้

-ในสหรัฐอเมริกาใช้ฉีดในกลุ่มประชากรอายุ 65 ปี เพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรง

●สถานะในไทย ยังไม่มีการเสนอเอกสารให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณา และยังไม่มีการนำเข้ามา

15 กุมภาพันธ์ 2021

โควิชิลด์

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด Viral Vector

●ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 70.4 นอกจากนี้ในการทดสอบ Clinical Trial พบว่า การฉีดวัคซีนโควิลด์เข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ถึงร้อยละ 82 ตลอดช่วงเวลา 12 สัปดาห์ก่อนจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และลดการเจ็บป่วยจนมีอาการหนักได้ร้อยละ 100

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ห่างกัน 6-8 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่อนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 40 ประเทศ เช่น บราซิล แคนาดา ยูเครน แอฟริกา โมร็อกโก อินเดีย ฮังการี อาร์เจนตินา

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 2 ครั้งใน 1 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●สถานะในไทย ยังไม่มีการเสนอเอกสารให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาพิจารณา และยังไม่มีข้อมูลการนำเข้ามา

12 มีนาคม 2021

จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด Viral Vector

●ประสิทธิภาพ โดยเฉลี่ยป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 66 แต่ในผลการทดสอบ Clinical Trial แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา ป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 72 ร้อยละ 64 ในแอฟริกาใต้ และร้อยละ 61 ในบราซิล

●วิธีใช้ ฉีดเพียง 1 เข็ม

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในบราซิลและอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 42 ประเทศ ตัวอย่าง เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม แคนาดา สวีเดน สหรัฐอเมริกา สเปน ไทย

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 10 ครั้งใน 17 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●สถานะในไทย ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แต่ยังไม่มีข้อมูลการนำเข้ามา

16 เมษายน 2021

แอสตราเซเนกา

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด Viral Vector

●ประสิทธิภาพ มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 76 นอกจากนี้ผลการวิจัยที่จัดโดย Public Health England พบว่า วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อินเดียร้อยละ 60 และป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์อังกฤษร้อยละ 66

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ห่างกัน 3 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในสวิตเซอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ บราซิล ซาอุดีอาระเบีย บาห์เรน และอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 99 ประเทศ ตัวอย่างเช่น ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา ญี่ปุ่น อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 31 ครั้งใน 18 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●สถานะในไทย ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการฉีดให้ประชาชนโดยกระทรวงสาธารณสุข

30 เมษายน 2021

โมเดอร์นา

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด mRNA

●ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 90 ในการทดสอบ Clinical Trial เฟส 2 ควบ 3 ในกลุ่มตัวอย่าง 3,700 คน ครึ่งหนึ่งได้รับวัคซีน อีกครึ่งหนึ่งได้รับยาหลอก พบว่า กลุ่มที่ได้วัคซีนไม่ติดเชื้อเลย ส่วนกลุ่มที่ได้ยาหลอกติดเชื้อ 4 คน

กลุ่มที่ได้รับวัคซีน เมื่อได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 พบว่า วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 93 หลังได้รับเข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 94

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ห่างกัน 4-12 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในบราซิล และอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 47 ประเทศ ตัวอย่างเช่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ไทย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา แคนาดา ไต้หวัน และผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 21 ครั้งใน 4 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

-ประกาศให้หยุดใช้ในเดนมาร์กและนอร์เวย์ เนื่องจากพบการเกิดลิ่มเลือด มีเลือดออก และเกล็ดเลือดต่ำ

●สถานะในไทย ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะดำเนินการฉีดโดยโรงพยาบาลเอกชนในไตรมาสที่ 3 และ 4

7 พฤษภาคม 2021

ซิโนฟาร์ม

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด Inactivated

●ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 78-72 โดยในการทดสอบ Clinical Trial เฟส 3 แสดงให้เห็นว่าเมื่อฉีดครบ 2 เข็ม โดยมีระยะห่างเข็มที่ 1 และ 2 จำนวน 21 วัน มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ร้อยละ 79 และหลังฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ครบ 14 วัน มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและล้มป่วยจนเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 79

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ห่างกัน 3-4 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในบราซิล และอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 42 ประเทศ ตัวอย่างเช่น อิรัก อิหร่าน ลาว ฮังการี จีน กัมพูชา บรูไน อาร์เจนตินา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 6 ครั้งใน 7 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●สถานะในไทย ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการนำเข้ามาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และจำหน่ายแบบองค์กรต่อองค์กร เช่น บริษัท ปตท. จำกัด สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

1 มิถุนายน 2021

ซิโนแวค

●เทคโนโลยีที่ใช้ วัคซีนชนิด Inactivated

●ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 50.65 ในการศึกษาเรียกว่า Project S ที่บราซิล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมา มีการฉีดวัคซีนให้ประชากรในเมือง Serrana ถึงร้อยละ 60 ของจำนวนประชากร และมีระยะห่างระหว่างเข็มที่ 1 กับเข็มที่ 2 จำนวน 28 วัน พบว่า ทำให้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงได้ร้อยละ 95-86

●วิธีใช้ ต้องฉีดให้ครบ 2 โดส ห่างกัน 2 สัปดาห์

●สถานะ เป็นวัคซีนที่ได้รับการรับรองในจีน และอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินใน 25 ประเทศ ตัวอย่างเช่น จีน ฮ่องกง ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ชิลี อียิปต์ บราซิล

●ข้อมูลสนับสนุนประสิทธิภาพ

-มีการทดสอบ 6 ครั้งใน 7 ประเทศ

-ผ่านการอนุญาตให้ใช้แบบฉุกเฉินโดยองค์การอนามัยโลก

●สถานะในไทย ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการฉีดให้ประชาชนโดยกระทรวงสาธารณสุข

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 546 ปีที่ 23 1 กรกฎาคม 2564

18 August 2564

By STY/Lib

Views, 8512

 

Preset Colors