02 149 5555 ถึง 60

 

รับมือโควิดด้วยสมุนไพรสไตล์อภัยภูเบศร (ตอนที่ 2)

HERBAL GUIDE FOR COVID-19 รับมือโควิดด้วยสมุนไพรสไตล์อภัยภูเบศร (ตอนที่ 2)

HOT ISSUE เรื่องโดย... ศิริกร โพธิจักร

THE 1st LIST

HERBAL TREAMENT FOR PREVENTION

สมุนไพรเสริมภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสติดเชื้อโควิด

ในกลุ่มประชากรที่ยังไม่ติดเชื้อ ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองแนะนำว่า สามารถใส่สมุนไพรลงในอาหารที่กินเป็นประจำเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน

ขอให้เน้นกลุ่มเครื่องเทศ เช่น กระชาย ขิง หอม ใบหูเสือ ตะไคร้ กะเพรา และใช้ฟ้าทะลายโจร

ในกรณีผู้ประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด เช่น มีสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานติดเชื้อ สามารถให้กินยาฟ้าทะลายโจรได้ แต่ไม่ควรประทานต่อเนื่องให้กินเมื่อเริ่มมีอาการเท่านั้น

นากจากนี้ยังสามารถกินสมุนไพรตำรับตรีผลา ซึ่งก็มีงานวิจัยสนับสนุนว่าสามารถเสริมภูมิคุ้มกันควบคู่ไปได้

THE 2nd LIST

HERBAL TREAMENT FOR GREEN GROUP PATIENT

สมุนไพรแนะนำสำหรับผู้ป่วยสีเขียว

กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองแนะนำให้กินสมุนไพร ดังนี้

1. ฟ้าทะลายโจร ใช้ลดไข้ แก้เจ็บคอ การศึกษาในปัจจุบันพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ได้

กรณีที่คนไข้มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ควรได้รับฟ้าทะลายโจรที่มีสาระสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ วันละ 120-180 มิลลิกรัม ต่อเนื่องไม่เกิน 5 วัน หลังจาก 5 วันแล้วหากยังมีไข้ ไอ เจ็บคอ สามารถกินเพื่อบรรเทาอาการต่อได้

ทั้งนี้ควรตรวจสอบปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์จากฉลากหรือสอบถามผู้ผลิต

กรณีเด็กอายุ 4-11 ปี ควรได้รับฟ้าทะลายโจรที่มีสาระสำคัญแอนโดรกราโฟไลด์ วันละไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัม และใช้ได้ไม่เกิน 5 วัน

การใช้ฟ้าทะลายโจรมีข้อควรระวัง 5 ข้อ ดังนี้

⬧ กลุ่มที่ไม่ควรกินฟ้าทะลายโจร ได้แก่ ผู้ที่มีอาการแพ้ หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

⬧ กรณีผู้ป่วยโควิดที่มีปัญหาระบบย่อย เช่น อาการถ่ายเหลว ท้องเสียบ่อย ภาวะธาตุอ่อน ไม่ควรกินฟ้าทะลายโจร

⬧ กรณีแขนขาอ่อนแรง ถ้ากินแล้วมีอาการดังกล่าว แสดงว่าร่างกายมีความเย็นเกินไป เลือดเดินทางไปเลี้ยงส่วนแขนขาติดขัดต้องหยุดยา

⬧ กรณีกินเพื่อลดอาการเจ็บคม เมื่อครบ 24 ชั่วโมงแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ต้องหยุดยา ปรึกษาแพทย์ให้เปลี่ยนไปใช้การรักษาวิธีอื่น

⬧ กรณีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปรึกษาแพทย์ เภสัชกร และแพทย์แผนไทย เพราะอาจมียาบางรายการที่ไม่สามารถใช้กับฟ้าทะลายโจรได้

2. ขิง มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการในระบบทางเดินหายใจ

ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองอธิบายว่า ในระยะท้ายๆ เช่นวันที่ 4-5 หากคนไข้ยังมีอาการคัดจมูกทำให้หายใจลำบาก สามารถใช้ขิงได้ เพราะมีรสร้อน ขับเสมหะที่คั่งค้างอยู่ให้ออกมาได้

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่อิหร่านใช้ยาขิงผงวันละ 3 กรัม ช่วยระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ ปวดเมื่อยเนื้อตัว แต่มีข้อควรระวังว่า ถ้ายังมีไข้ไม่ควรกิน เพราะเป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อน ต้องเอาไข้ลงให้ได้ก่อนจึงจะใช้สมุนไพรในกลุ่มนี้ได้

THE 3rd LIST

HERBAL TREAMENT FOR LONG COVID PATIENT

สมุนไพรฟื้นฟูอาการผู้ป่วยโควิด

อีกกลุ่มหนึ่งที่ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองระบุว่า สามารถใช้สมุนไพรได้ คือ ผู้ป่วยที่หายจากโควิดแล้วแต่ยังมีอาการหลงเหลือที่ปอด

“จากการดูแลคนไข้มาเราพบว่า พอคนไข้หายจากโควิดแล้วหลายคนมีอาการไอ ซึ่งเราพบเยอะมาก พอมีอาการคนไข้ก็จะคิดว่าตัวเองกลับมาป่วยอีก เลยเอาฟ้าทะลายโจรมากินต่อ ซึ่งไม่เป็นผลดี เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความเย็น”

“ธรรมชาติของปอดมีความชุ่มชื่น มีความเย็นแต่ไม่ได้เย็นมาก แต่ถ้าให้ยาที่มีฤทธิ์ร้อนปอดก็จะอยู่ไม่ได้เหมือนกัน เราจะเลือกสมุนไพรที่ลดการอักเสบและไม่มีฤทธิ์เย็นหรือร้อนมากเกินไป”

“ดังนั้นต้องเน้นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงปอดและลดการอักเสบเป็นหลัก”

DID YOU KNOW?

กระชายช่วยบรรเทาอาการโควิดได้หรือไม่

ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองอธิบายว่า ที่ผ่านมาทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดกระชายขาวมีสาระสำคัญคือ แพนดูราทินเอ (Panduratin A) และพิโนสโตรบิน (Pinostrobin) ซึ่งสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังต้องศึกษาวิจัยให้รู้ขนาดยาที่ชัดเจน เพื่อให้ได้ยาที่มีประสิทธิผลและปลอดภัยหากต้องนำมาใช้กับผู้ป่วยต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้สามารถเห็นน้ำกระชายทำเป็นน้ำปั่นหรือน้ำคั้นแยกกากขายตามท้องตลาดมากมาย ดอกเตอร์ เภสัชกรหญิงผกากรองจึงชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้

“สาระสำคัญทั้ง 2 ชนิดในกระชายดังที่กล่าวมาข้างต้นไม่ละลายในน้ำ ดังนั้นถ้าจะกินให้ได้สารสำคัญต้องกินทั้งน้ำและเนื้อ จากประสบการณ์ดูแลคนไข้เราพบว่า ถ้าเป็นรายที่มีปัญหากรดไหลย้อนอยู่เดิม แล้วไปกินกระชายปั่นสด ก็จะทำให้อาการกรดไหลย้อนมีอาการมากขึ้น เนื้อกระชายก็ค่อนข้างย่อยยาก ดังนั้นถ้าเป็นผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบการย่อยอาหาร แนะนำให้ปรับไปใช้ขิงแทน”

“ถ้าดูตามงานวิจัยของมหิดล แม้ขิงจะได้ผลดีไม่เท่ากระชายขาว แต่ในงานวิจัยหลายชิ้นพบข้อมูลว่า ขิงมีสรรพคุณบรรเทาอาการของโรคระบบทางเดินหายใจและต้านเชื้อไวรัสค่อนข้างดี”

นิตยสารชีวจิต ปีที่ 23 ฉบับที่ 551 เดือนกันยายน 2564

(อ่านต่อตอนต่อไป)

30 September 2564

By STY/Lib

Views, 2807

 

Preset Colors