02 149 5555 ถึง 60

 

Home Isolaion การดูแลแบบแยกกักตัวที่บ้าน ระบบการรักษาออนไลน์ที่ครบวงจรที่สุด

Home Isolaion การดูแลแบบแยกกักตัวที่บ้าน ระบบการรักษาออนไลน์ที่ครบวงจรที่สุด

สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในปัจจุบันที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยมากกว่า 1 ล้านราย จึงเป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขอย่างมาก ในทางกลับกันพบว่าผู้ป่วยโควิด – วิด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการอาการและหายเองได้โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเด็นนี้จึงเป็นที่มาของโครงการรักษาผ่านระบบ Home Isolation หรือการดูแลแบบแยกกักตัวที่บ้าน ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญและได้นำมาช่วยเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโควิด -19 โดยเริ่มเปิดให้บริการรักษาตั้งแต่เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษากว่า 600 ราย

อ.นพ.ไอศวรรย์ เพชรล่อเหลียน หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ฝ่ายอุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กาชาดไทย กล่าวว่า ระบบ Home Isolation เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด – 19 ที่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง เพื่อประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้โรงพยาบาลสามารถดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างเพียงพอ

เพิ่มประสิทธิภาพการักษาดูแลผู้ป่วยผ่านระบบออนไลน์ไร้การสัมผัส

นวัตกรรมด้านการติดต่สื่อสารสารผ่านโครงข่ายสื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทอย่างมากเพื่อเชื่อมต่การรักษาระหว่างผู้ป่วยและทีมแพทย์พยาบาลโดยระบบ Home Isolation ที่ทีมแพทย์พัฒนาร่วมกับคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ออกแบบเครื่องมือที่ช่วยลดความยุ่งยากในการรักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่มีจำนวนมากกว่าแพทย์ผู้ให้การรักษานั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยทีมบุคลากรจะสื่อสารกับผู้ป่วยผ่าน Line OA ซึ่งเชื่อมต่กับ Dashboard ที่ใช้แพลตฟอร์มกิน-อยู่-ดี ทำหน้าที่เก็บข้อมูลการรักษาของผู้ป่วยเพื่อส่งให้ทีมแพทย์และพยาบาลตรวจประเมินอาการ ให้คำแนะนำในการรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ

- Line OA: ผู้ป่วยจะส่งค่าอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนผ่านฟอร์มจากหน้าแชท ให้ทีมพยาบาลสอบถามลัตรวจติดตามอาการ หากพบว่า ผู้ป่วยท่านใดมีอาการผิดปกติหรือรุนแรงขึ้น แพทย์จะติดต่อกลับเพื่อชักประวัติ ประเมินอาการเหนื่อยหอบและ VDO Call สังเกตการหายใจและอาการแสดงอื่นๆ

-แพลตฟอร์มกิน-อยู่-ดี: เมื่อผู้ป่วยกรอกแบบฟอร์มผ่าน Line OA ข้อมูลจะส่งเข้าสู่ระบบ Dashboard ซึ่งในหนึ่งหน้าปฏิบัติการนั้นจะสามารถประเมินอาการผู้ป่วยได้มากกว่า 100 คนในเวลาเดียวกัน หากพบค่าผิดปกติ เช่น อุณหภูมิร่งกายสูง หรือระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ ระบบจะแจ้งเอนทีมแพทย์ โดยแบ่งสีตามระดับความรุนแรงทำให้แพทย์สามารถเข้าประเมินการรักษาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ระบบนี้เสมือนการถอดรูปแบบการทำงานในหอผู้ป่วยจริงมาสู่การรักษษในโลกออนไลน์

ระบบการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสหวิชาชีพ

อ.นพ.ไศวรรย์ กล่าวทิ้งท้ายว่า หัวใจสำคัญของการทำงานผ่าน ระบบ Home Isolation คือการทำงานเป็นทีม ซึ่งได้รับความร่วมจากหน่วยงานอื่นและสหวิชาชีพที่มารวมผนึกกำลังเพิ่มศักยภาพของระบบ Home Isolation ให้ครอบคุมการรักษาอย่างไร้ข้อจำกัดและรวดเร็วที่สุด

- ทีมพยาบาล รับหน้าที่ติดตามอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ให้ คำแนะนำการรักษาตัวเองเบื้องต้นและถ่ายทอดข้อมูลให้ทีมแพทย์รับทราบ

- ทีมแพทย์ โทรศัพท์ประเมินอาการผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนจบการรักษามากกว่า 20 คนจากหลายสาขา อาทิ ฝ่ายอายุรศาสตร์ ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ และฝ่ายสุตศาสตร์ – นรีเวชวิทยา

- ทีมจิตแพทย์ ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล

- ทีมแพทย์ฝ่ายเวชศาสตร์ฟิ้นฟูและนักกายภาพบำบัด ดูแลผู้ป่วยพร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการฝึกหายใจ

- ฝ่ายสวัสดิการสังคมช่วยสืบค้นช่องทางติดต่อกับผู้ป่วยและประสานความร่วมมือกับตัวแทนชุมชน

- กลุ่มงานเภสัชกรรม ศูนย์บริหารงานระบบขนส่งกลาง ร่วมกับสำนักงานจัดหารายได้สภากาชาดไทย ช่วยจัดยาและจัดส่งอุปกรณ์ที่จำเป็นถึงบ้านผู้ป่วย

- ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ ศูนย์ประกันสังคม และฝ่ายการเงินช่วยเร่งดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ที่จำเป็นเพื่อให้การดูแลสามารถครอบคลุมทุกสิทธิการรักษาเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย

- นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือกับ บริษัท กลุ่มเซนทรัล จำกัด ดำเนินการจัดส่งอาหาร 3 มื้อให้ผู้ป่วยเป็นประจำทุกวัน

The Prestige of KCMH & MDCU

ปีที่ 6 ฉบับที่ 67 ประจำเดือน ตุลาคม 2564

11 November 2564

By STY/Lib

Views, 631

 

Preset Colors