02 149 5555 ถึง 60

 

7 ข้อคิด ฝึกใจให้ยิ้ม

7 ข้อคิด ฝึกใจให้ยิ้ม

เรื่อง พศิน อินทรวงค์

1.ในชีวิตของคนคนหนึ่ง จิตใจกับสถานการรณ์ย่อมมีส่วนสัมพันธ์กันเป็นปกติ

หากสถานการณ์ขาขึ้น ใจเราก็ฟู หากสถานการณ์เข้าขาลง ใจเราก็แฟบ นี่คือสิ่งที่คนเป็นกันมาก แต่ความจริงแล้วไม่ควรเป็นเช่นนั้นเราทุคนควรฟีกใจให้เป็นอิสระจากสถานการณ์ภายนอก ไม่ควรเอาใจผูกไว้กับสิ่งที่อยู่ภายนอก เพราะสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งผู้คนวัตถุ สถานะ สังคม ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเป็นปกติยิ่งเอาใจเข้ายึดมั่น ยิ่งเปิดหนทางแห่งความทุก๘เป็นทวี

2. ขอให้ท่านทั้งหลายฝึกมองไปตามจริง

เมื่อตา หู จมูก ลิ้น กาย หยิบภาพ เสียง กลิ่น รสสัมผัส ย่อมเกิเป็นความรู้สึกอย่างหนึ่งอย่างใด ใจย่อมสู่กระบวนการประเมินผลไปตามประสบการณ์ เกิดเป็นความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ต่างๆ แล้วความเป็นเราจึงเข้ากระโจมแนบกอดความรู้สึกนั้นไว้ถ้าเขาชม เราก็ดีใจ ถ้าเขานินทา เราก็เสียใจ ไม่พอใจ วนเวียนอยู่เช่นนี้ เราก็ดีใจ ถ้าเขานินทา เราก็เสียใจ วนเวียนอยู่เช่นนี้ ซึ่งไม่ใช่หนทางที่ดีสักเท่าไหร่ แตนี้ต่อไปควรฝึกใจให้เป็นผู้ดู ความรู้สึกเกิดขึ้น เราเพียงแค่ดู เห็นว่าความคิดต่างๆได้ผุดขึ้นแล้วในใจเรา โกรธให้รู้ว่าโกรธ ชอบให้รู้ว่าชอบพอใจให้รู้ว่าพอใจ รู้ไปอย่างนี้สักพัก รู้อย่างกลางๆ ไม่เข้าแทรกแซงความคิด

เราจะเห็นความจริงอย่างหนึ่งว่าแท้จริงแล้วความคิดและความรู้สึกเป็นเพียงนามธรรม ไม่ได้มีตัวตน และมันจะมีพลังก็ต่อเมื่อใจเนาเข้าไปยึดไปกำไปกอด เพียงเราตั้งท่าเฝ้ามองอยู่ห่างๆเราย่อมเห็นอาการคลายจางของความคิด เห็นความจริงแบบไหวๆ ว่าความคิดนั้นมรการเปลี่ยนแปลงในตัวของมันเอง เราจึงไม่ต้องทำอะไรกับความคิด ไม่ต้องไปกำจัด ไม่ต้องผลักใส ไม่ต้องไปรักไปชอบ ไม่ต้องไปรู้สึกอะไรกับมัน เพียงแค่เฝ้ามองความจริงเท่านั้น

3. เวลาทำงานให้เอาใจผูกไว้ที่การงาน

เกิดความรู้ฟุ้งซ่านก็ให้ดึงกลับมาที่งาน หนทางนี้เรียกว่าเราผูกใจไว้กับปัจจุบัน ให้การงานเป็นตัวหยั่งรากของความคิด ตาดู หูฟัง จดจ่อมุ่งมั่นลงไปในการงาน สมาธิที่เกิดขึ้นจากวิถีนี้จะมีพลังมาก ทำให้เกิดสติปัญญาแหลมคม คิดการงานได้ทะลุทะลวง คือความคิดที่มี คุณภาพ เราจำเป็นต้องแยกให้ออกว่าความคิดนั้นมีหลายแบบคิดการงานคือความคิดที่ดี คิดในทางเมตตาคือความคิดที่ดี คิดชื่นชมให้กำลังใจผู้อื่นคือความคิที่ดี คิดละอายใจผู้อื่นคือความคิดที่ดี คิดสบายใจ มองเห็นกิเลสและความผิดพลาดของตนคือความคิดที่ดี คิดกตัญญูรู้คุณผู้มีพระคุณคือความคิดที่ดี เหล่านี้คือสิ่งที่เราสมควรคิด

ส่วนความคิดใดๆที่เป็นไปในหนทางของความอกุศล คิดแล้วกิเลสเพิ่มพูน คิดแล้วเกิดความรู้สึกโกรธ เกลียด โลภ ก็สมควรเฝ้าระวัง เพียงเฝ้าดู อย่าได้เข้าไปเป็น อย่าได้เอาใจเข้ายึดถือจนเกิดเป็นกลุ่มก้อน พลังงานด้านมืดของชีวิต ทั้งความรู้สึกเชิงลบ เช่นเหงา เศร้า กังวล ฟุ้งซ่าน ก็สมควรกำหนดรู้เพียงผ่านๆ ไม่สมควรกระโจนลงไปเล่นไปเป็นเช่นกัน

4. มนุษย์จำนวนมากเกิดความทุก๘เมิ่สิ่งไม่พอใจมาเยือน

ทว่าเราทุกคนสามารถพ้นไปจากเงื่อนไข ในลักษณะนี้ได้ กระบวนการฝึกตนคือทักษะ ต้องทำให้บ่อย ให้ชิน ให้กลายเป็นนิสัยติดตัว เป็นเนื้อเป็นตัวของเรา สิ่งไดๆ เกิดขึ้นให้สร้างช่องว่างเล็กๆ ช่องว่างนี้คือการแยกตนเองออกจากสถานการณ์ สูดลมหายใจเบาๆลึกๆแล้วยิ้มน้อยๆ สร้างความรู้สึกเบิกบานแล้วยิ้ม

ไม่ว่าภายนอกจะเกิดอะไรขึ้น เพียงเรายิ้มน้อยๆ ยิ้มกับตนเองด้วยความรู้สึกที่ดี นั่นคือจิตยิ้ม คือใจยิ้ม ยิ้มเล็กๆ ดังพระพุทธรูปในโบสถ์วิหารศักดิ์สิทธิ์

5. จิตยิ้มใจยิ้ม

คือความรู้สึกโปร่ง โล่ง สบาย คือความรู้สึกอิ่มอุ่นผ่อนคลาย คล้ายความปิติในธรรม คล้ายความรู้สึกยามที่เรามองเห็นครอบครัวมีความสุข ยามที่เรามองเห็นสิ่งดีงามแบบลึกซึ้ง ความรู้สึกนี้กินลึกในจิตวิญญาณมากกว่าความดีใจความดีใจคือการกระโดดโลดเต้น เป็นความรู้สึกแบบใจกระโดดรู้สึกวูบวาบ แต่ความรู้สึกของจิตยิ้มใจยิ้มเป็นความรู้สึกที่ราบเรียบเหมือนผิวน้ำในบึงใหญ่กลางป่า เป็นความรู้สึกของยามเช้าในวันดีๆ สงบเงียบ ความรู้สึกเช่นนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวสำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกฝน แต่ความรู้สึกเช่นนี้จะเกิดขึ้นเสมอๆสำหรับผู้ที่หมั่นทำความรู้สึกตัว กำหนดช่องว่าง ตึงตนเองออกมาเพื่อนมองสถานการณ์ภายนอกอย่างผู้รู้ ผู้ดู ไม่ลงไปเล่นไม่ลงไปเป็น

6.อีกนัยหนึ่ง จิตยิ้มใจยิ้มคือความรู้ความรู้สึกของพรหมวิหารธรรม

คือยิ้มด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาเป็นรอยยิ้มแบบพระโพธิสัตว์ ผู้มีความตื่นรู้ในสรรพสิ่งว่าเป็นเพื่อนพ้องน้องพี่ ความเมตตาของพระโพธิ์สัตว์นี้ผสานกับความตื่นรู้ในแบบพระพุทธเจ้า เมตตาคือความรู้สึกเชิงบวก ความตื่นรู้คือค่ากลาง จิตยิ้มใจยิ้มเป็นกระแสของความรู้สึกเชิงบวกเล็กๆ ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในความสงบแบบพระพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งนี้มมีพร้อมอยู่ในมนุษย์ทุกคน

7.โลกเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ยิ่งยุคสมัยโลกาภิวัตน์ เฟื่องฟูเทคโนโลยี กระแสโลกยิ่งว่องไวรวดเร็ว ผู้ใด ฝากใจไว้กับโลก ผู้นั้นย่อมถูกกระแสโลกปั่นป่วน เหมือนเป็นลูกช่างถูกโลกจับหมุน โลกขึ้นสูง ใจขึ้นตาม โลกดิ่งลงเหว ใจ ทุกข์ท้อทุกข์ระทม ชีวิตเช่นนี้ย่อมหาความสุขได้ยาก ขอทุกท่านจงฝึกใจให้เหมือนใบบัว ทุกใบบัวมีหยดน้ำกระทบ แต่หยดน้ำนั้นไม่อาจซึมผ่าน อยู่กับสายน้ำอย่างไรใจเราจึงไม่เปียก ลองหลับตาแล้วสูดลมหายใจช้าๆ สัมผัสถึงความเป็นไปในชีวิต

มองให้เห็นชีวิตที่ซ่อนตัวอยู่ในชีวิต แกนกลางชีวิตคือความสงบนิ่ง คือความเป็นกุศลเย็นฉ่ำ จิตยิ้มใจยิ้มจะพาเราไปสู่สถานที่แห่งนั้นซึ่งเปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์งดงาม เป็นสิ่งไม่เหลือวิสัย เพราะเราทุกคนมีสิ่งนี้อยู่แล้วในใจ.

นิตยสารชีวจิต ปีที่ 23 ฉบับที่ 552 1 ตุลาคม 2564

12 November 2564

By STY/Lib

Views, 1934

 

Preset Colors