02 149 5555 ถึง 60

 

เผยผลวิจัยการทดลองฉีดวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นเป็นเข็มีท่ 3 โดยเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 2 แบบ ทั้ง Intradermal และ Intramuscular

เผยผลวิจัยการทดลองฉีดวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นเป็นเข็มีท่ 3 โดยเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 2 แบบ ทั้ง Intradermal และ Intramuscular

ตามที่ กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการฉีดวัคซีน COVID-19 ให้กับประชาชนได้ครอบคลุม จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นั้น ที่ผ่านมาวัคซีนที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับในระยะแรก คือวัคซีนซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้า แต่เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19ในปัจจุบัน ที่ต้องเผชิญกับเชื้อกลายพันธุ์อย่างเดลต้าไวรัส ทำให้เกิดความกังวลว่าประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนซิโนแวคหรือแอสต้าเซเนก้าสองเข็มที่มีการฉีดไปแล้วอย่างกว้างขวางในประเทศไทยนั้น อาจกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้ไม่เพียงพอ เมื่อมีระยะเวลาผ่านไป 2-3 เดือน จึงเป็นที่มาในการทำการศึกษาถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สาม โดยการศึกษานี้ เป็นการทดลองใช้วัคซีนปริมาณน้อยกว่าเดิมสำหรับฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง โดยนำมาเปรียบเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ(แบบที่ฉีดเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน)ซึ่งอาจเป็นแนวทางในการช่วยบริหารจัดการวัคซีนให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลวิจัยการทดลองฉีดวัคซีนโควิด-19 กระตุ้นเป็นเมีท่ 3 โดยเปรียบเทียบการฉีดวัคซีน 2 แบบ คือ ฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง( Intradermal) และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular)ในอาสาสมัคร โดยพบว่า

กลุ่มที่เคยฉีดซิโนแวคมา 2 เข็ม

หากกระตุ้นเข็มีที่สาม ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ โดยฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 0.05 cc(เท่ากับ1/6ของขนาที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั่วไป)ได้ระดับกระตุ้นภูมิคุ้มกัน IgG 3.209BAU/ml ซึ่งใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาด ครึ่งโดส(0.15 cc)ซึ่งค่าเฉลี่ย5,152BAU/ml เล็กน้อย

หากกระตุ้นเข็มสาม ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า โดยฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 0.1 cc ให้ระดับ lgG เฉลี่ย 2,810 BAU/ml ซึ่งสูงกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อซึ่งมีระดับเฉลี่ย 1,358 BAU/ml ประมาณ 2 เท่าโดยภาพรวม การฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเชอร์ หรือแอสตร้าเซเนก้าเข้าในชั้นผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ จะให้ระดับภูมิคุ้มก้น anti- RBD lgG ที่สูงมาก ซึ่งระดับนี้น่าจะทำให้ป้องกันอยู่ได้ยาวนาน คาดว่าจะนานกว่า 6 เดือน และสูงกว่าหลังฉีดวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม 25-156 เท่า และผู้ที่ได้รับการฉีดแบบเข้าในผิวหนังจะมีอาการปวดบริเวณตำแหน่งที่ฉีดมากกว่า แต่มีอาการใอ่อนเพลียน้อยกว่าการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

กลุ่มที่เคยฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้ามา 2 เข็ม

การฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนไฟเชอร์ โดยฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 0.05 cc ให้ระดับภูมิ

คุ้มกันสูง 1,490 BAU/ml ใกล้เคียงกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในขนาดครึ่งโดส(0.15 cc)1,962 BAU/ml แต่ต่ำกว่ากาฉีดเข้ากล้ามเนื้อขนาดเต็มโดส (0.3cc) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 2,377 BAU/ml เล็กน้อย

การฉีดเข็มีท่ สามด้วยวัคซีนไฟเชอร์ไม่ว่าจะป็นเข้ากล้ามเนื้อหรือผิวหนังให้ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงกว่าหลังฉีดเข็มที่2 ของแอสตร้าเซเนก้า (278 BAU/ml) 5-8 เท่า

ส่วนการฉีดกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วนวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าในกลุ่มนี้ให้ภูมิที่ไม่สูง ไม่ว่าจะเป็นแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (246 BAU/ml)และฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง 0.1cc(309 BAU/ml)

ผู้ที่ได้รับการฉีดแบบในผิวหนังมีปฏิกิริยาตำแหน่งที่ฉีดมากกว่าแต่อาการข้างเคียงตามระบบ เช่น ไข้ อ่อนเพลีย จะพบน้อยกว่ามาก

ดังนั้นการวิจัยอาจสรุปได้ว่า ผู้ที่ฉีดซิโนแวคมาแล้วสองเข็มสามารถถูกกระตุ้นได้ดี ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์เป็นเข็มีท่สาม ทั้งการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดเข้าในชั้นผิวหนัง ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตร้าแนก้ามาแล้วสองเข็ม แนะนำให้ฉีดกระตุ้นชันกันเข็มีท่ด้วยไฟเซอร์ ซึ่งไดผลดีทั้งแบบเข้ากล้ามเนื้อหรือในผิวหนัง ซึ่งโดยรวมแล้วการฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังนับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะนำในวงกว้างนอกจากจะให้ภูมิคุ้มกันที่ดีใช้ปริมาณวัคซีนน้อยและยังช่วยลดอาการข้างเคียงทั่วไปจากวัคซีนไดด้วย

ศิริราชประชาสัมพันธ์ ปีที่ 33 ฉบับที่ 449 ธันวาคม 2564

20 January 2565

By STY/Lib

Views, 1659

 

Preset Colors