02 149 5555 ถึง 60

 

20 วิธีฝึกลดความฟุ้งซ่าน ( แบบง่าย ๆ)

20 วิธีฝึกลดความฟุ้งซ่าน ( แบบง่าย ๆ)

เรื่อง พศิน อินทรวงศ์

1. ทำอะไรๆ ถ้าเป็นไปได้ให้ทำทีละอย่าง ใจจะได้ติดเป็นเรื่องๆ ไม่ฟุ้งซานวุ่นวาย

2. กำหนดรู้เป็นขณะ เดินให้รู้ว่าเดิน นั่งให้รู้ว่านั่ง นอนให้รู้ว่านอน

3. กินอะไร ดื่มอะไร กินดื่มให้ช้าลง ค่อยๆรู้รสสัมผัส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม แข็ง อ่อน ร้อน เย็น

4. อ่านหนังสือก็ฝึกสมาธิได้ อ่านอะไร ให้ใจนึกตัวหนังสือ ให้ใจอยู่กับเนื้อหา อย่าให้ใจลอยไปคิดเรื่องอื่น

5. ฟังเพลงบรรเลง ฟังให้ได้ยินโน้ตทุกตัว สัมผัสกับเสียงดนตรี ให้ได้ยินเสียงเล็กเสียงน้อยในบทเพลง

6. ไปไหนมาไหนให้รู้สึกถึงร่างกาย ลมพัดต้องผิวกายให้รู้ สังเกตความรู้สึกที่มีต่อสายลมผัด

7. นั่งเงียบๆหลับตา เปิดใจโล่งๆ รับรึ้งความว่างรอบตัว

8. คุยกะใคร ฟังให้ได้ยิน คนที่อยู่ตรงหน้าคือบุคคลที่สำคัญที่สุดในวินาทีนั้น

9. คิดก่อนคิด ก่อนคิดสิ่งใด ตั้งคำถามกับตนเองว่าความคิดนั้นเป็นคุณหรือเป็นโทษแม้ความคิดเป็นโทษ คิดแล้วไม่ทำให้ชีวิตดีขึ้นไม่ว่ามุมใดๆ เป็นไปได้ห้สลัดความคิดนั้นทิ้งเสีย

10. อย่าปล่อยให้คำพูดและการกระทำเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติ พูดและทำสิ่งใด ให้เห็นความรู้สึกตั้งต้น เห็นว่าเราพูดและทำด้วยความรู้สึกลักษณะไหน

11. เวลาพูดคุยจงใช้สมาธิจับเสียงของตนเอง พูดคุยกับใคร พูดให้ได้ยินเสียงตนเอง

12. ถอดรองเท้าเดินในบ้าน รับรู้ความรู้สึกของ 3 สิ่ง คือ เท้าของเรา ผิวพื้นและความรู้สึกที่เกิดขึ้นเป็นช่วงๆขณะที่เดิน

13. ก่อนนอนไม่ควรทำสิ่งอื่น ควรเผื่อเวลาสัก 10 นาทีก่อนนอนเพื่อทำใจให้ว่าง เมือแผ่นหลังแตะที่นอนให้บอตนเองว่าฉันกำลังนอน เพื่อเรียกสติและความรู้สึกตัว

14. ในยามตื่นอย่าพึ่งรีบลุก ให้ปลุกสติ บอกตนเองว่าฉันตื่นแล้ว ทำอย่างนี้กายและใจจะพร้อมเป็นหนึ่งเดียว

15. ระหว่างวันผูกความรู้สึกกับลมหายใจ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งมารู้อยู่ที่ลมหายใจช่วยลดความฟุ้งซ่านไปได้มาก

16. คิดเรื่องอดีตให้รู้ตัว คิดเรื่องอนาคตให้รู้ตัว อยู่กับปัจจุบันให้รู้ตัว

17. สำรวจร่างกาย รู้จักร่างกายของตนเอง แขน ขา ใบหน้า เนื้อตัว เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

18. ความคิด ความจำเป็นส่วนหนึ่ง ความรู้สึกก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง จะต้องรู้จักแยกให้ออก

19. มีความหวังอยู่เสมอ ความหวังเป็นความรู้สึกที่เป็นมาจากข้างใน เอาจิตใจไปเพ่งอยู่ที่ความรู้สึกนั้น ใจจะมีพลัง ความฟุ้งซ่านจะไม่ค่อยเกิด

20. หากฟุ้งซ่านมาก อย่าพยายามกดข่มและอย่าผลักใส แต่จงยอมรับ เห็นตามความจริงว่าความฟุ้งซ่านได้เกิดขึ้นแล้ว มองความฟุ้งซานเป็นปรากฏการณ์ธรรมดาๆที่มาๆไปๆ ไม่ได้มีตัวตนจับต้องเป็นรูปธรรม เกิดได้ก็ดับได้ วนเวียนไปเรื่อยๆ เพียงใจเฝ้ามองหัดมองให้เป็น เป็นผู้เห็นผู้สังเกต อย่าเข้าไปเป็นผู้เล่นหรือผู้แสดง

นิตยสารชีวจิต ฉบับ 559 ปีที่ 24 26 มกราคม 2565

24 January 2565

By STY/Lib

Views, 20842

 

Preset Colors