02 149 5555 ถึง 60

 

ช่วยด้วย นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

ช่วยด้วย นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี (ตอนที่ 1)

นพ.ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สูง อายุรแพทย์โรคประสาทวิทยา กองจิตเวชและประสาทวิทยา

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

การพักผ่อนที่ถือว่าดีที่สุดนั่นคื การนอนหลับ แต่หากเรานอนน้อยไปหรือนอนมากเกินไปก็ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้เช่นกัน

ความผิดปกติด้านการนอนที่เรามักพบบ่อยนั่นก็คือ โรคนอนไม่หลับ(Insomnia) ซึ่งพบเจอได้บ่อยราว 30-35%ทั่วโลก และเกิดได้ทุกช่วงอายุและเป็นปัญหาสำคัญต่อจิตใจ พฤติกรรม สุขภาพ ทว่ามีความเป็นไปได้มากที่เมื่ออายุมากขึ้น ผู้ที่มีอายุน้อยมักจะมีปัญหานอนหลับยาก ผู้ที่มีอายุมากจะมีปัญหาการนอนหลับให้ได้นานๆ หรือมีปัญหาการตื่นเช้าเกไป

ทำไมถึงนอนไม่หลับ

การนอนหลับไม่เพียงพอมัจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยจะเกิดก่อนหรือหลังเหตูการณ์สำคัญในชีวิต ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับแบ่งได้จากหลัก 3 P ดังนี้

ปัจจัยเสี่ยง (Predisposing factor) หมายถึง ลักษณะ บุคคลที่ส่งผลให้เกิดภาวะนอนไม่หลับเป็นปัจจัยแฝงที่อยู่ภายในบุคคล เช่น บุคลิกภาพจิตใจ อารมณ์ ความคิด เพศ อายุ โรคร่วม เป็นต้น

ปัจจัยกระตุ้น (Precipitating factor) หมายถึงภายนอกที่มากระตุ้นให้เกิดอาการโดยมีผลต่อบุคคล เช่น สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเสียชีวิตของคนใกล้ตัวตัว ช่วงใกล้สอบ การหย่งร้าง เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่(Perpetuating factor) หมายถึงพฤติกรรมีที่เกิดในผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับซึ่งเกิดขึ้นแล้วคงดำเนินอยู่ เช่น มีความกังวลใจ ความเครียด การดื่มกาแฟก่อนนอน ผลกระทบจากอาการของโรค เป็นต้น

อาการที่แสดง

อาการแสดงในผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้

อาการช่วงกลางคืน

- นอนหลับยาพบมากในวัยรุ่น

- ตื่นบ่อย

- ตื่นเช้าและไม่สามารถกลับไปนอนได้อีกพบมากในวัยกลางคนถึงผู้สูงอายุ

อาการช่วงกลางวัน

- มีอาการเหนื่อยเพลีย

- สมาธิไม่ดีความจำไม่ดี

- มีปัญหาทางอารมณ์

- ไม่สามารถทำงานต่างๆได้ดี

กฎ 30 นาที เพื่อใช้ประเมินเรื่องการนอนไม่หลับ

- ใช้เวลา>30 นาที จากบนเตียงเข้าสู่การนอนหลับ

- ตื่น> 30 นาที หลังหลับ

- ตื่น> 30 นาที ก่อนเวลาที่ตั้งใจ และ ก่อนจะนอนได้ครบ 6.5 ชั่วโมง

การนอนไม่หลับส่งผลอย่างไร

- มีอาการตื่นเร้าบ่อยครั้ง (hyperarousal) ในช่วงนอน

- มีการทำงานเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน hypothalamic – pituitary – adrenal axis (HPA axis)

- มีการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น หัวใจเต้นเร็วขึ้น

- มีการเผาผลาญมากขึ้น (หิวมากขึ้น)

- มีอุณหภูมิร่างกายที่สูงกว่าคนที่นอนหลับได้ปกติ

หากนอนไม่หลับติดต่อกันบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนล้า เพลีย ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดีส่งผลประสิทธิภาพในการควบคุมการทำงานของร่างกายลดลง อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างวันได้ง่าย

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ

ผู้ป่วยมักมาด้วยความรู้สึกนอนไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นด้านคุฯภาพการนอน หรือระยะเวลาการนอนตามด้วยอาการอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับไม่สนิท รู้สึกเข้านอนยาก หรือตื่นบ่อยๆ ช่วงกลางคืน นอนหลับได้น้อย หรือตื่นเช้ามากและไม่สามารถกลับนอนได้อีก ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่นเหมือนไม่ได้หลับ โดยมีอาการดังกล่าว≥ 3 คืนต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกัน ≥ เดือน

(อ่านต่อตอนหน้า)

หมอชาวบ้าน ปีที่ 43 ฉบับที่ 514 กุมภาพันธ์ 2565

28 February 2565

By STY/Library

Views, 1687

 

Preset Colors