02 149 5555 ถึง 60

 

การตรวจวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ (ตอนที่2 ตอนจบ)

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ (ตอนที่2 ตอนจบ)

ผู้ป่วยมักมาด้วยความรู้สึกนอนไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นด้านคุฯภาพการนอน หรือระยะเวลาการนอนตามด้วยอาการอื่นๆ เช่น นอนไม่หลับไม่สนิท รู้สึกเข้านอนยาก หรือตื่นบ่อยๆ ช่วงกลางคืน นอนหลับได้น้อย หรือตื่นเช้ามากและไม่สามารถกลับนอนได้อีก ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่นเหมือนไม่ได้หลับ โดยมีอาการดังกล่าว≥ 3 คืนต่อสัปดาห์ต่อเนื่องกัน ≥ เดือน

การตรวจวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับ คือ การตรวจการนอนหลับ

นพ.ศักดิ์สิทธิ์ ศักดิ์สูง อายุรแพทย์โรคประสาทวิทยา กองจิตเวชและประสาทวิทยา

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

(polysomnogram.PSG) ซึ่งประกอบด้วยการดูคลื่นไฟฟ้าสมอง การดูการกลอกตา ดูการขยับของกล้ามเนื้อ รูปแบบการการหายใจ ออกซิเจนในเลือด การกรน แลคลื่นหัวใจ

ประวัติโรคประจำตัว อาการเจ็บป่วยร่วม และยาที่กิน ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง เนื่องจากอาการปวดหรือไม่สุขสบาย โรคทางจิตเวช รวมถึงยารักษานั้นมีผลต่อการนอนหลับได้เช่นเดียวกัน

ในด้านการตรวจทางคลื่นสมอง (electroencephalogram) และการนอน (polysomnogram) จะพิจารณาจาก

- ระยะเวลานอนลดลง

- ประสิทธิผลการนอนลดลง

- มีการตื่นมากครั้งขึ้น

- มีการลดลงของช่วงเวลาการหลับลึก

- มีการตื่นตัวบ่อย โดยเฉพาะช่วงการนอนหลับตากระตุก/ลูกตามีการกลอกตัวอย่างรวดเร็ว(rapid eye movement,REM)

- มีความถี่ของคลื่นไฟฟ้าสมองในช่วงนอนมากกว่าคนที่นอนได้ปกติ

บันทึกการนอนหลับ

การบันทึกพฤติกรรมการนอนหลับ

การบันทึกพฤติกรรมการนอนหลับ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการดูรูปแบบปัญหาการนอน และสามารถใช้ติดตามผลหลังการรักษา

การบันทึกทุก ๆ วัน สามารถลดความคลาดเคลื่อนต่อการนึกย้อนหลังในห้วงหลายๆวัน

นอกจากนี้ ยังมีแบบสอบถามหลายชนิดเพื่อประเมินเรื่องภาวำนอนไม่หลับ

การรักษาการนอนไม่หลับ

จำเป็นจะต้องใช้การรักษาร่วมทั้งทางจิตบำบัดพฤติกรรม และการใช้ยา ทั้งนี้ขึ้นกับรูปแบบ สาเหตุและชนิดของการนอนไม่หลับ

1. การรักษาสาเหตุที่เกี่ยวข้อง เช่น การรักษาภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคขาอยู่ไม่สุข

2. การรักษาโดยปรับความคิดและพฤติกรรม(cognitive behavioral therepy for insomnia , CBT -I) เป็นการรักษาที่ดีที่สุด ในปัจจุบัน ได้ผลดีกว่าวิธีอื่นๆ ทั้งในด้านประสิทธภาพและผลระยะยาว ซึ่งการรักษาชนิดนี้ครอบคลุมถึง

- การปรับสุขอนามัยการนอนหลับ เป็นการปรับสภาพแวดล้อมและพฤติกรรม เช่น การนอนและตื่นเป็นเวลา การเลี่ยงแสงที่เข้าตา ไม่ควรดื่มน้ำก่อนนอน มากเกินไป งดการบริโภคอาหารเครื่องดื่มที่มีส่วนกาเฟอีน 6 ชั่วโมงก่อนการนอน และหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

- การลดสิ่งกระตุ้น โดยจำกัด คือ ห้ามใช้เตียงนอนทำกิจกรรมอื่น นอกจาก การนอน (กิจกรรมการนอนถือเป็นข้อยกเว้น)

- จำกัดชั่วโมงการนอน เป็นการลดระยะเวลาบนเตียง

- ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย

- ใช้เทคนิคการเปลี่ยนความคิด

- ใช้เทคนิคการจินตนาการ

- ใช้เทคนิคการคิดกลับ

3. การรักษาด้วยยา ปัจจุบันมียาหลายชนิด และหลายกลุ่มที่สามารถใช้ในการนอนหลับโดยจะปรับให้เหมาะสมกับแต่ละปัญหาของการนอน และควรอยู่ภายใต้คำปรึกษา/แนะนำของแพทย์

มีอาหาร/เครื่องดื่มหรือการทำการบริหารอะไรที่ช่วยเรื่องการนอนหลับได้ได้บ้างหรือไม่

สำหรับอาหารที่ส่งผลการนอนเป็นอาหารที่มีองค์ประกอบโปรตีนสูง เช่น นม พืชพวกถั่ว (เช่น อัลมอนด์ วอลนัท) เนื้อปลาที่ไขมันสูง (เช่น แซลมอน ) โดยเชื่อว่าอาหารเหล่านี้มีผลเพิ่มสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อการนอนหลับ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงอาหารที่มีคาร์ไบไฮเดรตมาก เช่น ข้าว หรือผลไม้ เช่น กล้วย เป็นต้น

สำหรับการออกกำลังกาย โดยปกติไม่แนะนำให้ทำก่อนนอนครับ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ

อย่างไรก็ตามอาการนอนไม่หลับของแต่ละคนแตกต่างกันไป ขึ้นกับสาเหตุและปัจจัย จำเป็นอย่างยิ่งที่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ แต่หากอาการนอนไม่หลับยังคงรบกวนจิตใจและส่งผลต่อสุขภาพ ส่งต่อการดำเนินชีวิต แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่วชาญเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

หมอชาวบ้าน ปีที่ 43 ฉบับที่ 514 กุมภาพันธ์ 2565

1 March 2565

By STY/Library

Views, 1024

 

Preset Colors