02 149 5555 ถึง 60

 

สภาวะอารมณ์ที่ ไม่คงที่ในวัยรุ่น (ตอนจบ)

สภาวะอารมณ์ที่ ไม่คงที่ในวัยรุ่น (ตอนจบ)

เรื่อง: นายแพทย์อนันต์ โลหะพัฒนะบำรุง

สภาวะอารมณ์ไม่คงที่ สัญญาณเดือนก่อนเกิดปัญหาสุขภาพจิต

จากการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีปัญหาสุขภาพจิตพบว่า สภาวะอารมณ์ไม่คงที่เป็นสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นก่อนการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคจิตเวช วัยรุ่น เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอารมณ์ที่แปรปรวน และปล่อยครั้งการไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดปัญหาต่างๆ มากมาย ดังนั้น หากพวกเขารู้เท่าทันและสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ จะทำให้พวกเขาสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้

จิตใจ ความรู้สึก และอารมณ์ของวัยรุ่น

1. ความเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นหลายอารฒณ์ เช่น เหงา เศร้า สับสน อารมณ์เหล่านี้ส่งผลให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมส่วนตัวและพฤติกรรมทางสังคมที่สร้างความกังวลให้กับผู้ใหญ่เช่น ใจร้อน อารมณ์รุนแรง มี ความอดทนต่ำ อีกทั้งยังต้องการความรักที่กว้างขวางจากกลุ่มเพื่อนและเพื่อนต่างเพศอีกด้วย

2. ความต้องการสร้างเอกลักษณ์และการยอมรับ วัยรุ่นเป็นเป็นช่วงของการค้นหาอัตลักษณ์และสถานะตัวตนในสังคม ซึ่งต้องอาศัยทั้งความสามารถในการเรียนและการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน

3. ความคาดหวัง วัยรุ่นเป็นช่วงที่สับสนเนื่องจากถูกคาดหวังจากสังคมรอบตัวหลายด้าน ทั้งต่อตนเองและครอบครัวที่คาดหวังให้พวกเขามีความรับผิดชอบอย่างจริงจังกลุ่มเพื่อนก็คาดหวังให้ร่วมทำกิจกรรมอย่างเหนียวแน่น และสังคมก็คาดหวังให้วัยรุ่นแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น

4. มีพฤติกรรมทางสังคมเด่น ชัด ต้องการให้คนรอบข้างเห็นคุณค่าและยอมรับ วัยรุ่นจะคบเพื่อนที่เหมือนและแตกต่างจากตนเอง เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ขาด โดยที่ไม่สามารถแยกแยะเพื่อนได้ว่าควรคบหรือไม่ควรคบ ที่สำคัญกลุ่มเพื่อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของวัยรุ่นเป็นอย่างมาก จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

ความเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นที่กล่าวที่กล่าวมาบางครั้งอาจทำให้พวกเขาเกิดความสับสนในช่วงนี้หากพ่อแม่ไม่ยอมรับ ใช้อำนาจเคร่งครัดมากเกินไป หรือทอดทิ้งให้เขารู้สึกว่าต้องแก้ปัญหาเองลำพัง วัยรุ่นจะเกิดความเครียดและสับสนในบทบาททางสังคมนอกจากนี้ อาการทางร่างกายที่ตอบสนองต่อความเครียดรุนแรงยังส่งผลกับปัญหาสุขภาพในระยาว ไม่ว่าจะเป็นภาวะความดันโลหิตสูง ระบบลำไส้และทางเดินอาหารแปรปรวน โรคอ้วนจากความอยากอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป

ดังนั้น หากพวกเขามีการเปลี่ยนผ่านชีวิตช่วงวัยรุ่นที่ดี คือการได้รับความรักความภาคภูมิใจ และการสอนวินัยเชิงบวกอย่างเต็มที่ จะช่วยเสริมสร้างฐานจิตใจให้แข็งแรง ฝ่าฟันวิกฤตที่อาจจะอยู่ไปอีกพักใหญ่ได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไรที่คนเราจะรู้สึกว่ามีบางเรื่องที่ไม่สามารถรับมือหรือจัดการกับปัญหาและความเครียดในชีวิตได้ในบางครั้ง การยอมรับความเป็นไปและตั้งสติไม่ปล่อยอารมณ์ข้ามเขตอันตราย ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตสักเล็กน้อยก็ดูจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ลองทำตามคำแนะนำ 5 ข้อต่อไปนี้

1. ยิ้มรับความเป็นไป ประเมินตัวเอง รู้จักปล่อยวางและยืดหยุ่นกับความคาดหวัง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แยกแยะและตระหนัก ถึงสิ่งที่เรา

2. สร้างความมั่นใจในตัวเอง พยายามหลีกเลี่ยงหรือออกจากสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด จัดสรรเวลาทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ตัวเองชื่นชอบ ทำสิ่งใหม่ๆที่ท้าทายพลังความคิดและความสามารถเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจและตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง

3. สร้างช่องทางระบายความเครียด เช่น พูดคุยกับคนที่รักและห่วงใย เขียนไดอารี่

4. ฝึกฝนความคิดและสมาธิ มองโลกในแง่ดีและคิดแต่สิ่งดีๆ เสมอ ทุกปัญหามีทางออกให้ค่อยๆ คิด ค่อยๆ แก้ไขไปทีละเรื่อง

5. ดูแลสุขภาพร่างกายให้ดี การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและการพักผ่อนอย่างเพียงพอ นอกจากจะช่วยสร้างเสริมสุขภาพที่สมบูรณืแข็งแรงเพื่อลดความกังวลจากการเจ็บป่วยแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจด้วยการมุ่งมั่นใส่ในการดูและตัวเองอีกทางหนึ่งด้วย

นอกจากคำแนะนำเพื่อผ่อนคลายสภาวะอารมณ์ไม่คงที่ สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือความรักความเข้าใจของคนในตรอบครัวที่จะช่วยประคับประคองให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้ได้

วารสารเพื่อเยาวชนของมูลนิธิเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ปีที่ 13 ฉบับที่ 47 เดือนมกราคม – มีนาคม 2565

18 March 2565

By STY/Library

Views, 9024

 

Preset Colors