02 149 5555 ถึง 60

 

แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก
Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย

แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก
Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย

Download เอกสาร

เริ่มทำแบบสอบถาม Online

บทนำ

ความรู้สึกเศร้า หรือไม่มีความสุขเป็นสิ่งที่พบได้เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นในผู้ใหญ่ หรือเด็ก การมีความรู้สึกเศร้าในช่วงระยะสั้นๆ และเป็นครั้งคราวนั้นถือว่าเป็นสิ่งปกติ แต่ถ้าความรู้สึกเศร้านั้นมีอยู่เป็นระยะ เวลานาน และรุนแรง จนส่งผลกระทบถึงการปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน ก็จัดว่าเป็นภาวะปกติ ในทางคลินิก ภาวะซึมเสร้าดังกล่าวนี้มีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะอาการ และความรุนแรง เช่น ภาวะซึมเศร้าอันเป็นผลจาก ความผิดปกติในการปรับตัวต่อความเครียด (adjustment disorder) โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (dysthymia) และ โรคซึมเศร้า รุนแรง (major depression) เป็นต้น

อาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นความรู้สึก หรือสภาวะที่เกิดขึ้นภายในที่รับรู้ได้เฉพาะตัว ผู้ป่วย ยากแก่การสังเกตของผู้คนรอบข้าง เฉพาะเมื่ออาการนั้นมีความรุนแรง จึงจะปรากฎชัดต่อสายตาของ ผู้ใกล้ชิด เช่น ความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งรอบตัว (anhedonia) ถ้าเป็นน้อยผู้ป่วยอาจเพียงแต่รู้สึกไม่ค่อยสนุกกับสิ่งที่ เคยสนุก ถ้าเป็นมากผู้อื่นอาจสังเกตได้ว่าผู้ป่วยหงอยแยกตัวไม่ค่อยทำอะไร หรือยุ่งกับใคร ความรู้สึกผิดก็เช่นกัน ถ้าเป็นไม่มากผู้ป่วยอาจเพียงมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไม่ดี แต่ความรู้สึกนี้อาจแสดงออกไม่ชัดเจน จนกระทั่ง อาการทวีความรุนแรง และความรู้สึกผิดนั้นออกมาในรูปของความหลงผิด หรือหูแว่วเป็นเสียงคนตำหนิว่าผู้ป่วย ไม่ดี เป็นต้น

แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า หรือ Children’s Depression Inventory:CDI ฉบับภาษาไทยเป็นแบบวัดที่ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ แปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นโดย Maria Kovacs โดยดัด แปลงจาก Beck Depression Inventory แบบวัดนี้ประกอบด้วยคำถาม 27 ข้อ เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าในด้านต่างๆ ที่พบในเด็ก แต่ละคำถามจะประกอบด้วยตัวเลือก 3 ข้อ ซึ่งบอกถึงความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา แต่ละตัวเลือกจะมีคะแนนความรุนแรงของอาการ คะแนน 0 หมายถึง ไม่มีอาการเศร้าเลย หรือมีน้อย คะแนน 1 หมายถึง มีอาการบ่อย ๆ และคะแนน 2 หมายถึง มีอาการตลอดเวลา คะแนนรวมของ CDI มีได้แตั้งแต่ 0-52 เนื่องจากความรู้สึก และความนึกคิดของผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินภาวะซึมเศร้า จึงควรมีการประเมิน ศึกษาความรู้สึก และความคิดของผู้ป่วยด้วย นอกเหนือไปจากการสังเกตของแพทย์ หรือผู้ตรวจ ดังนั้น เครื่องมือ ที่ประเมินความรู้สึก และความคิดของผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การประเมินเป้นไปอย่างครบถ้วน

คุณสมบัติของเครื่องมือ

จากการวิจัยพบว่า CDI ฉบับภาษาไทย มีค่าอำนาจจำแนกระหว่างเด็กปกติกับเด็กที่มีภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P ‹ 10 กำลัง6

การศึกษาในเด็กไทยพบว่ามี reliability coefficient (Alpha) = 0.83 และมีความตรงในการจำแนก (discriminant validity) สูงจาก receiver operating characteristic curve คะแนนที่เป้นจุดตัดแยกภาวะซึมเศร้าที่มีความสำคัญทางคลินิก คือ 15 คะแนนขึ้นไป ที่คะแนนนี้ CDI ฉบับภาษาไทยมี sensitivity = 78.7% specificity = 91.3% และมี accuracy = 87% อย่างไรก็ตาม สำหรับการคัดกรองทางระบาดวิทยาสามารถใช้จุดตัดที่ 19 หรือ 21 คะแนนได

วัตถุประสงค์

>การประเมินภาวะซึมเสร้านั้น โดยทั่วไปกระทำโดยการสังเกตอาการแสดงของผู้ป่วย และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการ หรือความรู้สึกของผู้ป่วย การสังเกตอาการแสดงอาจจะมีปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว ส่วนการสอบถามข้อมูลจากผู้ป่วยเอง ก็อาจจะได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับความรู้สึกละเอียดอ่อนของผู้ป่วย เช่น ความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง เป็นต้น ผู้ป่วยบางรายอาจขาดทักษะในการสื่อสาร ไม่สามารถแสดงความรู้สึกนึกคิดเป้นคำพูดได้ดีพอ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นเด็ก ก็อาจเกิดปัญหาในการให้ข้อมูลแก่แพทย์ เนื่องจากเด็กอาจไม่กล้าแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะกับผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้การใช้เครื่องมือประเภท self-report ที่ให้ผู้ป่วยประเมินอาการของตนเองนั้น จึงเป้นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง Children’s Depression Inventory เป็นเครื่องมือประเภท self-report ที่ใช้แพร่หลายที่สุดในเด็กในปัจจุบัน

วิธีการใช้

แบบคัดกรอง CDI ประกอบด้วยคำถาม 27 ข้อ แต่ละคำถามมี 3 ตัวเลือก เพื่อบอกความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา การให้คะแนนจะให้ตามความรุนแรงของอาการ

คะแนน 0 หมายถึง ไม่มีอาการเศร้าเลย

คะแนน 1 หมายถึง มีอาการบ่อย

คะแนน 2 หมายถึง มีอาการตลอดเวลา

คะแนนรวม มีได้ตั้งแต่ 0 ถึง 54

การแปลผล

ผู้ที่ได้คะแนนรวมสูงกว่า 15 ขึ้นไป จากการคัดกรองถือว่ามีภาวะซึมเศร้าที่มีนัยสำคัญทางคลินิก

การนำไปใช้ประโยชน์

1. ใช้เพื่อการคัดกรองภาวะซึมเศร้า

2. ใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

3. ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับติดตามผลการบำบัดรักษา

ข้อจำกัด

1. กลุ่มเป้าหมายต้องอ่านหนังสือออก และเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเองได้

2. ในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น อาจมีข้อคำถามบางข้อที่ไม่เหมาะสมกับอายุ ดังนั้นอาจพิจารณาใช้แบบคัดกรอง CES-D แทนได

การให้คะแนนและการแปลผลแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก Children’s Depression Inventory (CDI) ฉบับภาษาไทย

การให้คะแนน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 ได้แก่ข้อ

ข้อ 1 3 4 6 9 12 14 17 19 20 22 23 26 27

แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้

ก. ให้ 0 คะแนน

ข. ให้ 1 คะแนน

ค. ให้ 2 คะแนน

กลุ่มที่ 2 ได้แก่ข้อ

ข้อ 2 5 7 8 10 11 13 15 16 18 21 24 25

แต่ละข้อให้คะแนน ดังนี้

ก. ให้ 2 คะแนน

ข. ให้ 1 คะแนน

ค. ให้ 0 คะแนน

ทั้งนี้ แต่ละข้อคำถามจะให้คะแนนตามความรุนแรงของอาการ ในแต่ละข้อ ดังนี้

คะแนน 0 หมายถึงไม่มีอาการเศร้าเลย

คะแนน 1 หมายถึงมีอาการบ่อย

คะแนน 2 หมายถึงมีอาการตลอดเวลา

การแปลผล

เมื่อรวมคะแนนทุกข้อแล้วนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่ปกติดังนี้

คะแนนรวมสูงกว่า 15 ขึ้นไปจากการคัดกรองถือว่ามีภาวะซึมเศร้าที่มีนัยสำคัญทางคลินิก

เอกสารอ้างอิง

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. อาการซึมเศร้าในเด็ก: การศึกษาโดยใช้ Children’s Depression Inventory. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539: 41(4): 221-230.

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็ก: การศึกษาในผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2536: 41(3): 174-183.

การเผยแพร

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. อาการซึมเศร้าในเด็ก: การศึกษาโดยใช้ Children’s Depression Inventory. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2539: 41(4): 221-230.

อุมาพร ตรังคสมบัติ, ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. พฤติกรรมฆ่าตัวตายในเด็ก: การศึกษาในผู้ป่วยนอก แผนกกุมารเวชศาสตร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2536: 41(3): 174-183.

บุคคลที่สะดวกในการติดต่อประสานงานในการศึกษาเรื่องนี้

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุมาพร ตรังคสมบัติ

หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ 0-2256-5176

โทรสาร 0-2256-5176000

Preset Colors